พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
จันทร์ 19 ต.ค. 2015 5:46 am
ทางแห่งความสุขที่ยั่งยืนยิ่งกว่าการมีเงินทองร่ำรวย คือ " การพบธรรมะ " ที่แท้จริง และปฏิบัติตามแนวทางแห่ง " อริยะ " เพื่อการหลุดพ้น พบความสุข สงบ ร่มเย็น
ที่มา:หนังสือ ถอดใจ ไปสวรรค์ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
** สมาธิ ไม่ได้หมายถึง จิตนิ่งอย่างที่คิด **
* เรื่องของจิตเป็นสมาธิพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน อนุปทสูตรว่าพระสารีบุตรมีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาทำลายกิเลส เห็นแจ้งธรรมตามลำดับดังนี้ คือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเข้าปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่
* หลักธรรมที่ท่านพระสารีบุตรเห็นอยู่ในปฐมฌาน คือ วิตก(ความตรึก), วิจาร(ความตรอง), ปีติ(ความอิ่มใจ), สุข(ความสุข), จิตเตกัคคตา(ความที่จิตมีอารมณ์เดียว), ผัสสะ(ความถูกต้อง), เวทนา(ความเสวยอารมณ์), สัญญา(ความหมายรู้), เจตนา(ความจงใจ), วิญญาณ(ความรู้แจ้ง), ฉันทะ(ความพอใจ), อธิโมกข์(ความน้อมใจเชื่อ), วิริยะ(ความเพียร), สติ(ความระลึกได้), อุเบกขา(ความวางเฉย), มนสิการ(ความใส่ใจ),
* พระสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท รู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ รู้ชัดว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เราย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไป ไม่ยินดีไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัยไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไป และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มี ฯ
* จะเห็นได้ว่าพระสารีบุตรกำหนดสมาธิในขั้นปฐมฌาน มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ถึงความดับไปอยู่ถึง ๑๖ ขั้นตอน ดังนั้นจิตจึงยังมีการเคลื่อนไหวไม่ได้นิ่งเฉยอย่างที่เข้าใจกัน กล่าวคือระบบการทำงานของจิตยังเกิด – ดับอยู่ภายในสมาธิและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา หากมีสติที่จะสังเกตดูความเปลี่ยนแปลง แต่เป็นเพราะเหตุไร ? นักปฏิบัติจึงไม่มองเห็นการเปลี่ยนแปลงดังเช่นพระสารีบุตร
** ดังนั้นสมาธิที่ผู้ปฏิบัติเข้าใจว่า จิตนิ่งสงบไม่เคลื่อนไหวจึงเป็นการเข้าใจผิดไปจากหลักการของพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน อนุปทสูตร เพราะในคัมภีร์กล่าวว่าพระสารีบุตรเข้าสมาธิในระดับปฐมฌาน กำหนดได้ตามลำดับบท เห็นการเกิด-ดับของสมาธิถึง ๑๖ ขั้นตอน
* ศึกษารายละเอียด พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่ม ๑๔ ข้อ ๑๕๓-๑๖๕ หน้า ๙๑-๙๕ ./ ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑๔ ข้อ ๑๕๓-๑๖๕ หน้า ๑๑๐-๑๑๕ ./ ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม ๒๒ ข้อ ๑๕๓-๑๖๕ หน้า ๑๙๕-๒๐๐.
อาหารเลี้ยง...เพียงกายา....พาเติบใหญ่
สิ่งเลี้ยงใจ....คือพระธรรม.....นำสั่งสอน
หวนถึงวัน.....ต้องจากฟ้า.....มาแรมรอน
เหตุใดจร......เวียนวนวัฏ.........ไม่ตัดใจ