Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

พุทธะ

อังคาร 10 พ.ย. 2015 6:11 am

"..เวลาสวดมนต์.. เค้าให้สวดเป็นท่วงทำนอง.. แต่เราไปอ่าน.. เหมือนอ่านหนังสือ.. มันก็ไม่เข้ากันสิ.."

ท่านสอนว่า.. สระอะ อิ อุ.. ให้ว่าสั้นๆ.. สระที่ออกเสียงยาว.. อา อี อู.. ก็ให้ว่ายาวๆ.. เราจับหลักได้แค่นี้.. เราสวดถูกหมด.. "•ถ้าเราจับหลักนี้ไม่ได้.. เราสวดเหนื้อยยย.. เหนื่อย•"

เราสวดนี่สวดให้มันไพเราะ.. สวดให้มันสงบ.. เราสวดจนเหนื่อย.. พอมานั่งแล้วมันสงบเร็ว

ท่านพูดถึงบทสวด"มหาสติปัฏฐาน".. เป็นธรรมคำสอนเกี่ยวกับสมถะ-วิปัสสนาทั้งนั้นเลย. ท่านแนะนำให้ไปอ่านดู บทพิจารณากาย. เวทนา. จิต. ธรรม. โดยเฉพาะบทพิจารณาธรรมอย่างเดียวมากยิ่งกว่า 3 ส่วนข้างหน้า.. นิวรณ์ธรรม/ อริยสัจ4ธรรม/ โพชฌงคธรรม/ อุปาทานขันธ์ทั้ง5/ มันมีหลายๆบท.. บทพิจารณาธรรม

"สวดไปสวดมา.. มันมีแต่ไล่พิจารณาในกายในใจเราทั้งนั้นเลย" มันเป็นภาคทฤษฎีที่ชี้ชัดเข้ามานี่เลย

•หลวงปู่บุญมี ธัมมรโต•



ความวุ่นวายทั้งหลายนี้เกิดจากใจที่ไม่มีธรรมเป็นเครื่องบังคับบัญชา‬ ตื่นขึ้นมาคิดแล้วปรุงแล้ว ยุ่งตลอด ความโลภ ความโกรธ ราคะตัณหา เรื่องเก่าเรื่องใหม่ไม่สนใจ ยิ่งเรื่องไหนที่เป็นความไม่ชอบใจ แล้วปั้นขึ้นมา อุ่นขึ้นมา คิดเผาเจ้าของตลอดเวลา ไม่ได้มีความสะดุดใจบ้างเลยว่า อันนี้เราเคยคิดแล้ว เคยเกิดความเดือดร้อนแก่เรามาแล้ว เราไม่ยอมคิดมัน อย่างนี้ไม่มี ยิ่งติดยิ่งพันความคิดอันนั้นเข้าไปอีก แล้วก็เผาเราไปอีก นี่คือไม่มีธรรมเป็นเครื่องกำจัด เมื่อมีธรรมแล้ว สิ่งใดที่เป็นอารมณ์ไม่ชอบใจ ปัดมันออกเสีย เอาอารมณ์ของธรรมเข้าแทนที่ ๆ จิตใจของเราจะเป็นความสงบร่มเย็น นี่คือชาวพุทธ"

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๖





ธรรมะไม่ใช่ตัวอักษร...
ธรรมะไม่ใช่คัมภีร์...
ธรรมะไม่ใช่เสียงเทศน์...
ธรรมะ...คือสภาวะที่ปรากฎแก่จิตที่มี
ปัญญาอันขาวรอบ

ตัวอักษร...คัมภีร์...เสียงเทศน์...ฯลฯ เป็นเพียงสมมุติบัญญัติ ที่เอาไว้สื่อให้เรารู้เส้นทางเดินที่ถูก(และผิด)เปรียบเหมือนเป็นแผนที่สำหรับให้เรารู้เส้นทางไปที่หมาย สาระสำคัญของการปฏิบัติคือฝึกสติให้เกิดศีล สัมมาสมาธิ และปัญญาอันขาวรอบ เพื่อให้จิตได้เข้าไปเรียนสภาวะธรรม ข้างในนั้น...คือพุทธะ




ถ้าอยู่กับใครที่เราไม่ค่อยชอบ แต่ไม่มีทางเลือก
เทคนิคอย่างหนึ่ง คือ แผ่เมตตาให้กับตัวเอง
ขอให้เป็นผู้ไม่มีเวร ชื่นชมในความดีของตัวเอง
เวลาเรารักตัวเอง ก็พร้อมที่จะรักคนอื่นให้อภัยคนอื่น

‪#‎พระอาจารย์ชยสาโร‬
ตอบกระทู้