พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อาทิตย์ 29 พ.ย. 2015 5:28 am
ครั้งหนึ่งหลวงพ่อชาเคยสอนว่า
"เคยพอไหม ?
การไม่รู้จักพอเป็นบ่อเกิดของความทะยานอยาก
คนไม่รู้จักพอแม้ได้สมดังปรารถนา
ก็จะสร้างความอยากอันใหม่ขึ้นมาอีกไม่รู้จักจบสิ้น
เป็นเหตุให้จิตใจไม่สงบ
เพราะต้องกระวนกระวายตามความอยากที่ไม่มีวันสิ้นสุดเรื่อยไป
แม้กระทั่งการทำสมาธิ ยังไม่รู้จักพอต่อความสงบ ต้องการยิ่งขึ้นไปอีก
จิตยิ่งอยากสงบ ก็จะยิ่งห่างไกลจากความสงบที่แท้จริง"
"มันเต็มอยู่ทุกคนนั้นแหละโรค ให้เสาะแสวงหายา อย่ากินตั้งแต่ของแสลงนัก ของแสลงคือเรื่องความผิดความพลาดนั้นแหละ สั่งสมไว้ด้วยกันทุกคน ๆ ไม่มีใครสำนึกคิดถึงเลยว่ามันเป็นภัย ทีนี้เวลาเราได้อ่านอรรถอ่านธรรมศึกษาเล่าเรียนไป ก็ค่อยเริ่มรู้สึกอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนมีความสนใจหนักแน่นในมรรคในผลเข้าไปเรื่อย ๆ ขึ้นมา อ่านไปเท่าไรก็ยิ่งเห็นชัดเจน ธรรมพระพุทธเจ้าลงตลอด ๆ ท่านว่าตรงไหนนี่เราผิดมาแล้วนี่ สะดุดเจ้าของ อันนี่เราเคยผิดมาแล้ว ๆ ๆ คำว่าเคยผิดมาแล้วเราจะพยายามแก้เรา ความหมายว่าอย่างนั้นนะ"
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๕
ผู้มีปัญญา เมื่อต้องการให้ตนของตนเป็นอย่างไร..ก็จงฝึกฝนไปทางนั้น
อุทกญฺหิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
ทารุ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา ฯ
คำแปล......
คนไขน้ำย่อมไขน้ำ (เข้านา) ช่างศรย่อมดัดลูกศร
ช่างถากย่อมถากไม้ บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน....
"ธรรมดาน้ำย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่มโดยปกติ แต่คนไขน้ำผู้ฉลาดใช้เครื่องมือบางอย่างไขน้ำให้ไหลไปยังที่สูงได้ สูบขึ้นไปบนภูเขาก็ได้ หรือให้มันไหลไปยังที่ใดที่หนึ่งเพื่อประโยชน์บางอย่างตามปรารถนาของตน"
....ส่วนช่างศร ย่อมดัดลูกศรให้ตรงตามกรรมวิธีของตน เพื่อประโยชน์ของตน ฝ่ายช่างไม้ นำไม้มาจากป่าแล้วถาก และตบแต่งให้เกลี้ยงเกลาเพื่อประโยชน์แก่การทำทัพสัมภาระต่าง ๆ มีปลูกเรือนเป็นต้น
"น้ำ ลูกศร และไม้ เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีวิญญาณ" คนทั้งหลายยังสามารถทำให้มันเป็นไปตามความปรารถนาของตนได้ ไฉนเล่ามนุษย์เราซึ่งมีจิตใจ จะไม่พึงฝึกจิตของตนให้เป็นไปตามปรารถนาของตน บัณฑิตทั้งหลายเห็นดังนี้แล้ว...จึงฝึกตน....
#การฝึกตนนั้น คือการคุ้มครอง บังคับตนให้ดำเนินอยู่ในทางที่ดีที่ชอบอยู่เสมอ บางคนกล่าวว่า มนุษย์เราจะดีหรือเลวก็แล้วแต่พันธุกรรม (heredity) และสิ่งแวดล้อม (environment) การพูดอย่างนี้มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด
#เพราะเป็นการปัดความรับผิดชอบไปจากตนโดยสิ้นเชิง ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง บุคคลทำสิ่งใดก็ไม่พึงมีโทษ เพราะสิ่งแวดล้อมบ้าง พันธุกรรมบ้างบังคับให้ทำ
"แต่ความเป็นจริงแล้ว เมื่อโทษทุกข์อันใดเกิดขึ้นเป็นผลอันตามเหตุมา โทษทุกข์อันนั้นก็ตกอยู่แก่ผู้กระทำ หาตกอยู่แก่พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมไม่ ด้วยเหตุนี้มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิต จึงควรมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อการกระทำของตน ไม่โยนความผิดให้ไปตกแก่สิ่งอื่นเสียเรื่อยไป
ทั้งนี้เพื่อฝึกตนให้เป็นคนมีความยุติธรรม
ไม่ลำเอียงเข้าข้างตน ให้เป็นคนรู้จักสำรวมตน
ไม่ซบเซาเมื่อทุกข์
ไม่ลำพองเมื่อสุข"
มนุษย์เราทุกคน ได้อวัยวะ มือ เท้า เกิดมาตัวเปล่าเหมือนกัน สิ่งอันเป็นอุปกรณ์สำคัญคือ"เวลา" ก็ได้ให้โอกาสแก่มนุษย์เท่า ๆ กัน มนุษย์จะดีหรือเลว จะเป็นคนสำคัญหรือเป็นคนอย่างไร ก็แล้วแต่การฝึกฝนตนเอง พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า.......
“ในหมู่มนุษย์ด้วยกัน ผู้ฝึกตนได้แล้ว เป็นผู้ประเสริฐที่สุด
(ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ)”
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อต้องการให้ตนเป็นอย่างไร..ก็จงฝึกฝนไปทางนั้น การฝึกตนเป็นหน้าที่ของบัณฑิตโดยตรง..
ผู้ทำบุญ คือผู้มีบุญ
ผู้มีบุญ จึงได้ทำบุญ
บุญ ทำให้เกิดความสุข
บุญ ทำให้เกิดความสบายกาย
บุญ ทำให้เหิดความสบายใจ
บุญ ทำให้เกิดความสุขใจ
ผู้มีบุญ คือ ผู้จึงมีความสุขทั้งชาตินี้และชาติหน้า
ผู้มีบุญ จึงทำให้เกิดบุญขึ้นมา
ไม่มีบุญ จึงไม่ค่อยได้ทำบุญ
เมื่อไม่ได้ทำบุญ ก็ไม่เกิดบุญ
ผู้แสวงหาบุญ จึงได้พบบุญ ได้เป็นผู้มีบุญ
ผู้มีบุญจึง อิ่มเอมในบุญ
เพราะบุญเกิดที่ใจ ใจจึงเย็น ใจจึงเป็นบุญ
ผู้ไม่มีบุญ ไม่คิดอยากทำบุญ และไม่คิดแสวงหาบุญ ก็ไม่ได้ทำบุญ
บุญทำให้เกิดความสุขความร่ำรวยได้
ผู้ที่คิดอยากทำบุญ ผู้ที่คิดอยากทำบุญ และได้ทำบุญ จึงเกิดความร่ำรวย และเป็นผู้มีบุญขึ้นมา ผู้มีบุญ จึงมีความสุขกายสุขใจ
ดังนั้น ผู้ที่ไม่มีความสุข คือผู้ไม่มีบุญ และ"บุญยังไม่เกิด" ผู้มีทาน ผู้รักษาศีล ผู้มีสมาธิ ผู้ปฏิบัติภาวนา เป็นผู้ต้องการบุญ บุญจึงเกิดได้กับผู้ได้กระทำบุญ ผู้มีบุญจึงเกิดความสุข
ขอเชิญร่วมบุญ"ถวายยานพาหนะ" ประสงค์ที่จะถวายในวันเสาร์ ที่ 28 พฤษภาคม 2559 ซึ่งหลวงปู่อายุครบ 7 รอบ 84 ปี 63 พรรษา
โอนแล้วส่งข้อความแจ้งที่คุณมาดี ลายวิเชียร
085-8806880
ID.line : sangrawee12
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.