Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ความฉลาดและความดี

อาทิตย์ 06 ธ.ค. 2015 6:18 pm

"..ความฉลาด ความดี
และความสุขมาพร้อมกัน
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แยกออกจากกันไม่ได้
เพราะถ้าเราฉลาดจริงๆแล้ว
จะไม่มีทางทำความชั่วได้เลย
และเมื่อไม่ทำความชั่ว
จิตใจก็เป็นกุศลเป็นสุข.."
โอวาทธรรมคำสอน..
พระอาจารย์ชยสาโร



"...เราคนเดียว เทียวรัก เทียวโกรธ
จะไปโทษใคร..แก้อะไรใครได้..
ก็ไม่เท่าแก้ใจตน ..เพียงคนเดียว..."
..............................
โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ




"...ขอให้เป็นผู้ตระหนักในเรื่องของสติ กับ เรื่องของปัญญา (วิมังสา) คือพยายามนำเอาอิทธิบาททั้ง ๔ มาเป็นเครื่องสนับสนุน และเป็นองค์แห่งธรรมด้วย คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ เป็นเครื่องสนับสนุนองค์แห่งความเพียรของเราเสมอ!!
การเกิดตายซ้ำๆซากๆ จนไม่สามารถจะนับป่าช้าของเราคนเดียวได้ นี่ไม่น่าขยะแขยงบ้างเหรอ!? ชาตินี้ก็แน่แล้วว่าเราจะต้องตาย ตายที่ไหนก็ต้องเป็นป่าช้าของเราที่นั้น ชาตินี้กับชาติหน้า วันนี้กับวันหน้า ไม่มีระยะห่างไกลกันเลย จิตแนบอยู่กับคนๆเดียวนี้
แล้วเรายังจะยอมตายอยู่อีกเกิดอีก ตั้งกัปตั้งกัลป์จากบุคคลคนเดียวคือเรานี้ เราจะเห็นว่าเป็นของประเสริฐหรือน่าจะเห็นว่า เป็นของที่น่าระอาสำหรับเราคนเดียว หมุนเกิด หมุนตาย หมุนทุกข์ยากลำบากอยู่เช่นนี้
ขอให้พากันพิจารณา ถ้าอยากจะพ้นจากความเป็นอย่างนี้แล้ว จงเป็นผู้เห็นความสำคัญในเรื่องของสติ เรื่องของปัญญา ประกอบองค์แห่งความเพียรของตนเสมอไป ในอิริยาบทของตน
อย่าให้ขาดวรรคขาดตอน ท่านทั้งหลายจะคว้าชัยชนะ คือ ความตัดขาดจากความเป็นกงจักร คือ ตนของตน เป็นผู้หมุนยังตนเองได้ในวันหนึ่งแน่ๆ..."
โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน



ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก‬ แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วจะเป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธออย่าพอใจในเรื่องความรักเลย เมื่อหัวใจถูกลูบไล้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่

น้องหญิง! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่งและแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น

"โกกิลาเอย! เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็พลันสิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมา เคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง ธรรมดาสตรีนั้นควรจะยอมตายเพราะความละอาย แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นความละอายมักจะตายไปก่อนเสมอ เมื่อความใคร่เกิดขึ้นความละอายก็หลบหน้า เพราะเหตุนี้พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าความใคร่ทำให้คนมืดบอด อนึ่งโลกมนุษย์ของเรานี้ เต็มไปด้วยชีวิตอันประหลาดพิสดารต่างชนิดและต่างรส ชีวิตของแต่ละคนได้ผ่านมาและผ่านไป ด้วยความระกำลำบากทุกข์ทรมาน ถ้าชีวิตมีความสุขก็เป็นความหวาดเสียวที่จะต้องจากชีวิตอันรื่นรมย์นั้นไป

"โกกิลาเอย! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอันน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่าในส่วนลึกแห่งหัวใจเขาจะว้าเหว่ และเงียบเหงาสักปานใดแทบทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักของชีวิตที่แน่นอน เธอปรารถนาจะเป็นอย่างนั้นด้วยหรือ?

"น้องหญิง! บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะที่พึ่งแล้วจงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด อย่าหวังอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย โดยเฉพาะความรักความเสน่หาไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใครได้ มันเป็นเสมือนตอที่ผุ จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด

"ธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น พระศาสดาทรงสอนให้เว้นเสีย เพราะฉะนั้นแม้จะประสบปัญหาหัวใจ หรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้ว ก็ควรตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ

"น้องหญิง! ธรรมดาว่าไม้จันทร์นั้น แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม พระศาสดาทรงย้ำว่าพึงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม

"โกกิลาเอย! เธอได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ในคนพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบจะคำนวณเอาจากคนจำนวนเท่าใดจึงจะเฟ้นได้หนึ่งคน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นนักเสียสละตัวอย่างของโลก เคยมีกษัตริย์องค์ใดบ้างทำได้เหมือนพระพุทธองค์ ยอมเสียสละความสุขความเพลินใจทุกอย่างที่ชาวโลกปองหมายมาอยู่กลางดินกลางทราย ก็เพื่อทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่มนุษยชาติ การเสียสละของพวกเรา เมื่อนำไปเทียบกับการเสียสละของพระบรมศาสดาแล้ว ของเราช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไร

"น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่าบุคคลอาจอาศัยตัณหาละตัณหาได้ อาจอาศัยมานะละมานะได้ อาจอาศัยอาหารละอาหารได้ แต่เมถุนธรรมนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ชักสะพานเสีย คืออย่าทอดสะพานเข้าไปเพราะอาศัยละไม่ได้"

"ข้อว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้น คือละความพอใจในรสของอาหาร จริงอยู่สัตว์โลกทั้งมวลดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร ข้อนี้พระศาสดาก็ตรัสไว้ แต่มนุษย์และสัตว์เป็นอันมากติดข้องอยู่ในรสแห่งอาหาร จนต้องกระเสือกกระสนกระวนกระวาย และต้องทำชั่วเพราะรสแห่งอาหารนั้น ที่ว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้นคืออาศัยอาหารละความพอใจในรสแห่งอาหารนั้น บริโภคเพียงเพื่อยังชีวิตให้ชีวิตนี้เป็นไปได้เท่านั้น เหมือนคนเดินทางข้ามทะเลทราย เสบียงอาหารหมด และบังเอิญลูกน้อยตายลงเพราะหิวโหย เขาจำใจต้องกินเนื้อบุตรเพียงเพื่อให้ข้ามทะเลทรายได้เท่านั้น หาติดในรสแห่งเนื้อบุตรไม่"

"ข้อว่าอาศัยตัณหาละตัณหานั้น คือเมื่อทราบว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรืออรหันต์ ก็มีความทะยานอยากที่จะเป็นบ้าง เพื่อพยายามจนได้เป็นแล้ว ความทะยานอยากอันนั้นก็หายไป อย่างนี้เรียกว่าอาศัยตัณหาละตัณหา"

"ข้อว่าอาศัยมานะละมานะนั้น คือเมื่อได้ยินได้ฟังภิกษุหรือภิกษุณี หรืออุบาสกอุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบันเป็นต้น ก็มีมานะขึ้นว่าเขาสามารถทำได้ ทำไมเราซึ่งเป็นมนุษย์และมีอวัยวะทุกส่วนเหมือนเขาจะทำไม่ได้บ้าง จึงพยายามทำความเพียร เผากิเลสจนได้บรรลุโสดาปัตติผลบ้าง อรหัตตผลบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอาศัยมานะละมานะ เพราะเมื่อบรรลุแล้วมานะนั้นย่อมไม่มีอีก"
"ดูก่อนน้องหญิง! ส่วนเมถุนธรรมนั้น ใครๆ จะอาศัยละมิได้เลย นอกจากจะพิจารณาเห็นโทษของมันแล้วเลิกละเสีย ห้ามใจมิให้เลื่อนไหลไปยินดีในกามสุขเช่นนั้น น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีสุขน้อยแต่มีทุกข์มาก มีโทษมากมีความคับแค้นเป็นมูล มีทุกข์เป็นผล"


"กิเลสทั้งสามประการนี้ย่อมเผาบุคคลผู้ยอมอยู่ใต้อำนาจของมัน ให้รุ่มร้อนกระวนกระวายเหมือนไฟเผาไหม้ท่อนไม้และแกลบให้แห้งเกรียม ข้อแตกต่างแห่งกิเลสทั้งสามประการนี้ก็คือ ราคะนั้นมีโทษน้อยแต่คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากด้วยคลายช้าด้วย บุคคลซึ่งออกบวชแล้วประพฤติตนเป็นผู้ไม่มีเรือนเรียกว่า ได้ชักกายออกห่างจากกามราคะ แต่ถ้าใจยังหมกมุ่นพัวพันอยู่ในกามก็หาสำเร็จประโยชน์แห่งการบวชไม่ คือเขาไม่สามารถจะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้ อุปมาเหมือนไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง แม้จะวางอยู่บนบก บุคคลผู้ต้องการไฟก็ไม่อาจนำมาสีให้เกิดไฟได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุ ภิกษุณีผู้ชักกายออกจากกามแล้วพยายามชักใจออกจากกามความเพลิดเพลินหลงใหลเสียด้วย"


น้ำท่วมใจ‬
น้ำขึ้นอย่างนี้ คนเราอาจจะไม่ชอบ แต่ปลาชอบ ได้หากินไปเรื่อยๆ เมาของกิน เมาปลวก เมามดน้ำลงก็ไม่คิดจะลงตามน้ำ พิรี้พิไรอยู่นั่นแหละ เพราะมันเพลิน ติดของกิน น้ำขึ้นมาปลาก็ใจใหญ่ใจโต หากินตามน้ำไปเรื่อย ที่ไม่เคยไปก็ไป แต่พอน้ำลดใจก็แป้วลงๆ ไม่มีทางไป มีแต่ช่องเล็กๆ ที่น้ำไหลพอไปได้ก็คือปากไซเท่านั้นแหละ เลยติดลอบ ติดไซ ติดเบ็ดที่เขาดักเอาไว้ แต่ก็ไม่เข็ดบางทีไปติดอยู่หนองเล็กๆ น้ำงวดลงพอมองเห็นหลัง ถ้าคนเขาไม่มาวิดเอาไป ก็ตกเป็นเหยื่อมดเท่านั้นเอง น้ำขึ้นปลาได้กินมด พอน้ำลดมดได้กินปลา โลกเป็นอย่างนี้ จะทำอย่างไร
คนเราก็เหมือนกัน เพลินเมารูป เมาเสียง กลิ่น รส เมาในการกินไม่หยุดสักที ภาวนาไม่ได้ง่ายๆ เดี๋ยวเป็นโรคนั้น เดี๋ยวเป็นโรคนี้ แต่ถ้าสัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รสแล้วไม่มีกลัวตาย เอาชีวิตเข้าแลกเลยทีเดียว นักบวชเราก็เหมือนกัน ภาวนาไม่ออก ไม่รู้ติดอะไร ผลักเข้าก็มีแต่ถอยออก มาภาวนาก็อยากจะได้เร็วๆ อยากจะให้เป็นอย่างนั้น อยากจะให้เป็นอย่างนี้ ไม่ได้ตามที่คิดตามที่ปรารถนาก็ท้อ อยากเลิกแล้ว “สึกไปมีเมียดีกว่า ไปเที่ยวเล่นดีกว่า ไปเข้าบาร์ดีกว่า มาทนทุกข์อยู่อย่างนี้ทำไม” คิดไปสารพัด คิดโง่ๆ ไม่เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ถ้าไม่เห็นโทษของมันก็ละไม่ได้ จะต่ำลงไปในดิน หรือสูงขึ้นไปบนอากาศ ก็ละไม่ได้ ถ้าไม่เห็นโทษของมัน ถ้าเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย ในวัฏฏสงสารแล้ว มันไม่ขนาดนั้นหรอก มองดูก็รู้ มันไม่ไปหรอก ยังไงก็ไปไม่ได้ เมื่อเห็นโทษของมัน แต่จะต้องพยายามขยันให้มีศรัทธา ต้องหาทางออกจนได้แหละ ถ้าเห็นโทษมันแล้ว เหมือนกับน้ำ ถ้าน้ำไม่ท่วม เราก็ยังไม่เห็นโทษของมัน เมื่อมันท่วมขึ้นมาวันละคืบสองคืบ ขนของหนีน้ำไปตรงไหนก็ไม่พ้นสักที ขนแล้วขนอีกไม่จบง่ายๆ นี่โทษของมัน ถ้าเห็นโทษของน้ำท่วม ก็หนีน้ำ ถ้าเห็นโทษในวัฏฏสงสาร ก็ไม่ยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ดูมันไป พิจารณามันไป น้ำแห้งลงไป ใจคนก็เป็นอย่างหนึ่ง น้ำขึ้นมา ใจก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่เป็นอย่างนั้น น้ำลดท่านก็ให้อยู่อย่างเดิม น้ำขึ้นก็ให้อยู่อย่างเดิม ท่านให้เห็นว่า โลกมันไม่มั่นคงไม่เที่ยงอยู่อย่างนั้น น้ำขึ้นมามันก็อยู่อย่างนั้น แม้น้ำลดก็เป็นอยู่อย่างนั้น เราทำไปตามเรื่องของมัน ปฏิบัติอยู่ในวัฏฏสงสาร กองทุกข์ กองยาก กองลำบากอยู่นี้ ถ้าผู้ใดเห็นโทษของมันก็ค่อยยังชั่ว รู้ว่าน้ำขึ้นมาก็ช่วยกันขนของไวๆ ของก็ไม่เสียหาย รู้ว่ารูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นี้ มันเป็นทุกข์เป็นโทษ ก็ให้พยายามละ พยายามห่างมัน
มันก็เหมือนน้ำนั่นแหละ กาโมฆะ โอฆะคือกาม ภโวฆะ โอฆะคือภพ ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา น้ำธรรมะเป็นอย่างนี้ น้ำในแม่น้ำมูลยังมีวันแห้งได้ แต่น้ำกามมันไม่หมด ไม่แห้งสักที คิดขึ้นมาทีไรใจก็เสียววาบๆ มันเข้าไปยินดียินร้าย เข้าไปใคร่ไปติด สัตว์ทั้งหลายจมอยู่ในโลก ในวัฏฏสงสารคือกาม ยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นี่ตัวสำคัญ
พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่า เปรียบประดุจบุรุษผู้หนึ่งเดินมากระหายน้ำ ขอน้ำกิน น้ำอย่างอื่นไม่มีหรอกมีอยู่อย่างเดียว กลิ่นก็ดี รสก็ดี สีก็ดี แต่กินแล้วเมา เมาเกือบตาย ไม่ตายก็เจียน จะกินหรือไม่กิน มันเป็นอย่างนั้นโทษของมัน แต่คนกระหายน้ำมากไม่กลัว กินเหมือนน้ำกามนี่แหละ รูป 1 กลิ่น 1 เสียง 1 โผฏฐัพพะ 1 ธรรมารมณ์ 1 ใครกินเข้าไปแล้วก็ต้องเมา ไม่ตายก็เกือบตาย คนไม่รู้เข้าไปกิน กินแล้วก็เมา เหมือนเรานี่แหละ ท่านบอกออกจากกามไปทางนี้ แต่ไม่ไป อยากจะลองดูกับกาม อยากจะสู้กับมันดู เพราะเหตุอย่างนี้แหละ จึงออกยาก มักห่วงลาภ ห่วงยศ ห่วงสรรเสริญ ทุกข์ สุข นินทา มีลูกห่วงลูก มีหลานห่วงหลาน สารพัดอย่าง หนีไม่ได้ มีอะไรก็ติดอันนั้น นี่แหละลักษณะของกาโมฆะ โอฆะคือกาม แม่น้ำสายนี้มันกว้างใหญ่ไพศาล
น้ำมหาสมุทรทะเล ที่ว่ามาก ก็ยังมีทางระบายถ่ายเท แต่น้ำตัณหาโลภะ ไม่มีการระบาย มีแต่ไม่พออยู่เรื่อย หามามากเท่าใดไม่พอกับความอยาก เพราะกาโมฆะ (โอฆะคือกาม) มันท่วมใจสัตว์
ภโวฆะ โอฆะคือภพ ภพนี้ก็เป็นกาม เป็นแม่น้ำอีกสายหนึ่ง คือ ความไปยึดมั่นถือมันอันใดอันหนึ่งไว้ เมื่อไปยึดมันไว้ก็เหมือนเราไปยืนอยู่ริมตลิ่ง น้ำจะขึ้นมาท่วมไม่วันใดก็วันหนึ่ง มันก็เป็นภพ เป็นที่เกิดของสัตว์ สัตว์ไปเกิดที่นั่นเรียกว่าชาติ ชาติอาศัยภพเกิด ภพเป็นที่ให้ชาติอาศัยอยู่ มันก็ตั้งอุปาทาน มั่นหมายทุกสิ่งสารพัดอย่าง เกิดเป็นภพ เมื่อมีภพก็มีชาติ ภโวฆะ โอฆะคือภพ จมอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ในวัฏฏสงสาร เกิดๆ ตายๆ ทุกข์ยากลำบากอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา
ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ ไม่ฟังใคร เอาแต่ใจตัวเอง ครูบาอาจารย์พูดก็ไม่ฟัง ผิดถูกไม่มี เอาแต่ใจตัวไม่ละทิ้งทิฏฐิ มีทิฏฐิมากไม่เชื่อฟังใคร เอาแต่ความเห็นของตัวเอง ไม่ได้พิจารณา มันผิดจากธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาทั้งนั้น ผิดก็ฟัง ถูกก็ฟัง ดีก็ฟัง ชั่วก็ฟัง ให้ฟังไว้ เราเป็นผู้ฟัง ฟังแล้วเอาไปพิจารณาแยกแยะ ส่วนนั้นเป็นกุศล ส่วนนี้เป็นอกุศล
ทิฏฐินี้ก็คือความเห็นธรรมดา แต่เมื่อมานะเข้าไปปน เป็นผู้ดีกว่าเขา เห็นว่าตัวดีกว่าเขา เห็นว่าตัวเสมอเขา หรือเห็นว่าตัวเลวกว่าเขา นี่ยังไม่ใช่ เป็นผู้เสมอเขา เห็นว่าตัวดีกว่าเขา เห็นว่าตัวเสมอเขา หรือเห็นว่าตัวเลวกว่าเขา นี่ก็ไม่ใช่ ยังผิดอยู่ เป็นผู้เลวกว่าเขา เห็นว่าตัวดีกว่าเขา เห็นว่าตัวเสมอเขา หรือเห็นว่าตัวเลวกว่าเขา อันนี้ก็ยังไม่ใช่ ยังมีความเห็นที่เป็นมานะเข้าไปยึดอยู่ ลำพังความเห็นไม่เท่าไรหรอก แต่มีมานะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นอุปาทาน จึงทำให้ติดอยู่ในภพ
อวิชโชฆะ หลงไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ กาโมฆะก็ไม่รู้ ภโวฆะก็ไม่รู้ ทิฏโฐฆะก็ไม่รู้ อวิชโชฆะก็เลยไม่รู้ ไม่รู้สักอย่าง ไม่รู้ว่าของสี่อย่างนี้เป็นน้ำท่วมใจตัวเอง ไม่รู้จักไม่เคยเห็น อันนี้ก็มัวเมาอยู่ในความเห็นของตัวเอง ปัญญาไม่เกิด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า อย่าได้ยึดมั่นถือมั่น หน้าแล้งก็มองสิ่งที่มันแล้ง หน้าน้ำก็มองสิ่งที่เป็นน้ำ อารมณ์ที่ดีก็ดู อารมณ์ที่ไม่ดีก็ดู ทั้งสองอย่างนี้มันก็หมด เกิดมาวูบเดียวมันก็ดับไปเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากมาย เราอย่าเข้าไปยึดมั่นกับมัน จงเห็นสภาพธรรมทั้งหลายว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ทุกสิ่งทุกอย่างให้เห็นอยู่แค่นั้น แม้แต่ความสุขหรือความทุกข์ก็เหมือนกัน เกิดขึ้นมาแล้วมันก็ดับไป เหมือนน้ำขึ้นแล้วก็ลดลง ลดลงแล้วก็ขึ้นมาอีก
น้ำข้างนอกมันไม่มีผลร้ายแรงเหมือนน้ำใจเรา น้ำใจเราเมื่อเห็นผิดก็ยิ่งมีความร้ายแรงกว่านี้ ความเห็นผิดที่เป็นมิจฉาทิฏฐินี้ร้ายแรง ท่วมหมดทั้งโลก น้ำขึ้นมันท่วมไม่กี่จังหวัด แต่มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดนี้มันทำลายสัตว์ ทำลายมนุษย์ ทำลายประชาชน ทำลายชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ หมดทั้งสิ้นไม่มีเหลือ
น้ำเหล่านี้ท่านว่าเป็นน้ำที่สำคัญ สัตว์โดยมากมักตายอยู่ในน้ำทั้งสี่สายนั้นคือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ พระพุทธเจ้าท่านให้กำจัดมัน ให้พิจารณ์ อย่าให้ท่วมใจของเราได้ น้ำข้างนอก น้ำแม่น้ำมูล แม่น้ำซี เดี๋ยวมันก็ลด ไม่ถึงเดือนหรอก แต่พวกเราตั้งแต่เกิดมาแล้วยังไม่เลิกสักที ไม่แห้ง ไม่ลด มีแต่จะเอาอย่างเดียว
การปฏิบัตินี้ก็เหมือนกัน เมื่อมีความหลง มันทำให้การปฏิบัติหลงไปด้วย เช่น เรามาปฏิบัติ มันถูกที่ได้เราปฏิบัติ แต่ยังไม่ใช่ เพราะปฏิบัติผิดก็มี เข่น เราอยู่ในที่ที่มีคนน้อยอย่างวัดปากกุดหวาย ก็สงบระงับ ใจสบาย แต่จะว่าเราสบายแล้วก็ยังไม่ใช่ เพราะเมื่อไปอยู่กับคนหมู่มาก พระก็มาก เณรก็มาก คนก็มาก กลับรู้สึกไม่สบาย ไม่น่าอยู่ ทุกข์ก็เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ต่อสู้ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าในที่ที่มีคนน้อย หรือคนมากก็ตาม อยู่ในที่สงบหรือไม่สงบก็ตาม ความสงบที่แท้จริงไม่ใช่อยู่ที่ในป่า หากแต่มันสงบอยู่ที่จิตเห็นชอบต่างหาก ถ้ายังมีความเห็นผิด อยู่ในรูก็ไม่สงบ เอาอะไรอุดหูไว้ก็ยังวุ่นวาย ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติถูกต้องแล้ว มันสบาย อยู่น้อยคน ก็สบาย อยู่มากคน ก็สบาย เพราะเราไม่ไปอยู่กับใคร เราอยู่กับตัวเราเอง อยู่กับจิตที่ถูกต้องของตัวเอง อยู่กับพุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ไปอยู่กับยักษ์กับมาร กับเปรต กับผี อยู่ไหนก็สบาย เราภาวนาพุทโธ เฉยอยู่ในพุทโธ อยู่ในพระพุทธเจ้า เมื่ออยู่ในพระพุทธเจ้า ก็เห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระพุทธเจ้า ก็เห็นธรรมะ เห็นธรรมะ ก็เห็นพระพุทกเจ้า อย่างนี้จึงถูกต้อง ไม่ใช่ว่าได้มาแล้วถึงจะดี แต่เสียไปไม่ดี ไม่ใช่อย่างนั้น เสียไปก็ดี ได้มาก็ดี เกิดมาก็ดี ตายไปก็ดี ท่านให้รู้ทั่วถึงอย่างนั้น ใจจึงสงบ เมื่อใจสงบจากความเห็นผิด อยู่ไหนก็สบาย พวกเราได้มาก็เหมือนโดนซัดไปทางขวา เสียไปก็โดนซัดไปทางซ้าย ถูกโยนไปโยนมาอยู่อย่างนั้น
เรื่องภาวนานั้นต้องรู้จักความสงบของตัวเองเมื่อมีเหตุเครื่องเผาผลาญมากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้นกาย จิต มันส่งปัญหาอะไรมา เราก็แก้ได้ทุกอย่าง แก้ปัญหาทุกอย่างไปตามความเป็นจริง ทำได้อย่างนี้ก็สบายเท่านั้นเอง ท่านจึงเรียกว่าสงบ อยู่ในเมืองก็สบาย อยู่ในป่าก็สงบ แต่ธรรมชาติตามความเป็นจริงของสมณะที่สมกับผู้ประพฤติปฏิบัติต้องอยูกันที่สงบอย่างนี้ เพื่อเป็นเครื่องค้ำจุนการประพฤติปฏิบัติของเรา กิเลสมันหมดเร็ว เห็นเร็ว เพราะปราศจากเครื่องยั่วยวนทั้งหลาย แต่วางมืออยู่ในป่า อย่าไปติดป่า อยู่ในเมืองก็อย่าไปติดเมือง ได้ความสงบก็อย่าไปติดความสงบ ถ้าติดสงบเดี๋ยวก็ทำให้วุ่นวายอีก ให้ดูมันไป การปฏิบัตินี้ไม่ต้องฟังเทศน์มากหรอก ขอแต่ให้มีสติ (ความระลึกได้) สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) สองอย่างนี้เข้าไว้ในใจของเรา มันจะมีความรู้อยู่ทุกขณะ ตาเห็นรูปก็รู้ หูฟังเสียงก็รู้ จมูกดมกลิ่นก็รู้ ร่างกายถูกต้องโผฏฐัพพะก็รู้ ธรรมารมณ์เกิดขึ้นกับใจก็รู้ เมื่อรู้แล้วมันก็รู้จักว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี อันไหนชอบอันไหนไม่ชอบ สองด้านของสิ่งเหล่านี้ มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านให้วาง อย่าไปยึดมั่นหมายมั่น นี่เรียกว่าวิธีแก้ปัญหา แก้ปัญหาที่อายตนะส่งเข้ามา แก้ได้ทุกขณะจิตที่รู้จัก สติสัมปชัญญะเมื่อมีอยู่ทุกอิริยาบถไม่ว่าการยืน เดิน นั่ง นอน มีความรู้ตัวอยู่ มันก็ทำให้เกิดปัญญา แล้วก็เกิดโอปนยิโก คือน้อมเข้ามาดูในใจของเรา สอนคนอื่นได้ให้เห็นธรรมภายนอกธรรมภายในเกิดขึ้นทะลุถึงกัน นี่เรียกว่ารู้ธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านไม่ให้ยึด ไม่ให้มั่น ไม่ให้หมาย เราจะอยู่ที่ไหนก็ให้อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะของเราเสมอ เมื่อรู้ธรรมะของพระพุทธเจ้า ได้เห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังเทศน์ตลอดเวลา เพราะเรารู้จักธรรมะของท่าน ถ้ารู้ธรรมะอย่างนี้ รู้สัจธรรมอย่างนี้ อยู่ไหนก็สบาย สงบระงับในที่นั้น
อันนี้คือข้อปฏิบัติของพวกเราทั้งหลาย จะต้องปฏิบัติอย่างนี้ จะอาศัยผู้อื่นชักจูงอยู่เสมอไม่ได้ ต้องปลูกฝังขึ้นในจิตใจของตัวเอง พินิจพิจารณาข้อปฏิบัติของเราอยู่เสมอ ให้มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เตือนตัวเอง ระวังสำรวม สำรวมแต่ไม่ระวังนี่ไม่ดีเหมือนกัน เหมือนอาจารย์รูปหนึ่ง สำรวมแต่ไม่ระวัง ท่านไปบิณฑบาตมองแต่เท้าของตัวเอง เมื่อเดินเลี้ยวเข้าสวนเข้านาเขาก็ไม่รู้เรื่อง เข้าคอกวัวคอกควายเขาก็ไม่รู้ เดินตามท่านต้องคอยบอก ซ้ายๆ ขวาๆ บางที่รู้จักขวาไม่รู้จักซ้ายด้วยช้ำ บอกขวาซัดไปซ้าย บอกซ้ายซัดไปขวา นี่เรียกว่าสำรวมแต่ไม่ระวัง ไม่รู้เท่าทันเหตุการณ์การปฏิบัตินี้ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ อารมณ์มาอย่างนี้มันเป็นไปอย่างไร กิเลสอย่างนี้ มันเป็นไปอย่างไรต้องรู้เท่าทันเหตุการณ์ของมัน จึงจะรักษาตัวเองให้หลุดพ้นจากอันตรายได้
นักปฏิบัติเราจงพิจารณาธรรมของพระพุทธเจ้าอย่าให้ขาด พิจารณากลับไปกลับมาให้รู้ รู้จัก รู้เรื่องอยู่ก็รู้ ไปบิณฑบาตก็รู้ ฉันจึงหันก็รู้ ถ้าเรารู้อยู่อย่างนี้มันก็เป็นธรรมะ ทำอะไรไม่ผิดพลาด แต่เมื่อสำรวมแล้วก็ต้องระวัง สร้างประโยชน์ตนแล้วก็สร้างประโยชน์ผู้อื่น สอนตนแล้วก็สอนผู้อื่น ตนทำอย่างไรก็สอนผู้อื่นอย่างนั้น สอนผู้อื่นอย่างไร ตนก็ทำอย่างนั้น อันนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา ให้พากันตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้หนักแน่น...
•หลวงพ่อชา สุภัทโท•


ความจริงการปฏิบัตินี้‬ อะไรก็ช่างมัน ให้เริ่มออกจากจิตให้เริ่มจากจิต รู้จักจิตของเราไหม จิตเรามันเป็นอย่างไร มันอยู่ที่ไหน มันเป็นอะไร ก็คงงงหมดทุกคน จิตมันเป็นอย่างไร จิตอยู่ตรงไหนไม่รู้ ไม่รู้จัก รู้จักแต่ว่าเราอยากจะไปโน่น อยากจะไปนี่ มันเป็นสุขหรือมันเป็นทุกข์ แต่ตัวจิตจริงๆ นี้มันก็รู้ไม่ได้ จิตนี้มันคืออะไร จิตนี้ก็ไม่มีอะไร มันจะคีออะไรล่ะจิตนี้ เราสมมติขึ้นมาว่า สิ่งที่มันรับอารมณ์ดีอารมณ์ชั่วทั้งหลายเป็นจิตเหมือนกับเจ้าของบ้าน ใครรับแขกเป็นเจ้าของบ้าน แขกจะมารับเจ้าของบ้านไม่ได้หรอก เจ้าของบ้านต้องอยู่บ้าน แขกมาหาเจ้าของบ้านต้องรับ

ใครรับอารมณ์ ใครเป็นผู้รับอารมณ์ ใครปล่อยอารมณ์ ใครเป็นผู้ปล่อยอารมณ์ ตรงนั้นแหละท่านหมายถึงว่า จิตใจ แต่เราไม่รู้เรื่อง ก็มาคิดวนไปเวียนมา อะไรเป็นจิต อะไรเป็นใจ เลยวุ่นกันจนเกินไป เราอย่าเข้าไปเข้าใจมากถึงขนาดนั้นซิ อะไรมันรับอารมณ์ อารมณ์บางอย่างมันชอบ อารมณ์บางอย่างมันไม่ชอบ นี้คือใคร ที่ชอบไม่ชอบนี่ มีไหม มี แต่มันเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ เข้าใจไหม? มันเป็นอย่างนี้แหละ ตัวนี้แหละที่เรียกว่าจิต อย่าไปดูมันไกลเลย

การปฏิบัติธรรมนี้จะเรียกว่าสมาธิหรือวิปัสสนาก็ช่าง เราเรียกว่าปฏิบัติธรรมเท่านี้ก็พอและก็ดำเนินจากจิตของเราขึ้นมา จิตคืออะไร คือผู้ที่รับอารมณ์นั่นแหละ มันถูกอารมณ์นี้ก็ดีใจบ้าง อารมณ์นั้นเสียใจบ้าง ตัวที่รับอารมณ์นั่นแหละ มันพาเราสุขพาเราทุกข์ มันพาเราผิดมันพาเราถูก ตัวนั้นแหละ แต่ว่าเราไม่มีตัว สมมติว่าถ้าเป็นตัวเฉยๆ แต่ว่าเป็นนามธรรม ดีมีตัวไหม


บุพเพสันนิวาสอันเหลือเชื่อ‬ - หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
อุบายชนะกามคุณ ๕ ของพระอริยสงฆ์

...หลวงปู่ว้าวุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง จิตที่เคยควบคุมบังคับให้สงบนิ่งได้
ก็เกิดปรวนแปรไป ความคิดคำนึงคอยแต่จะโลดแล่นซัดส่ายไปหา
หญิงงามอย่างเดียว ทำให้หลวงปู่แหวน เกิดความหวาดกลัวตัวเอง
เป็นอย่างยิ่ง ขืนอยู่ต่อไปอาจจะพ่ายแพ้ต่อกิเลสเมื่อไหร่ก็ได้

ดังนั้น หลวงปู่แหวนจึงตัดสินใจเก็บบริขารทั้งหลาย เดินทางกลับ
ประเทศไทยอย่างฉับพลันทันที เมื่อข้ามแม่น้ำโขงสู่ผืนแผ่นดินมาตุภูมิ
แล้วก็มุ่งหน้าขึ้นไปทางอำเภอศรีเชียงใหม่ ระหว่างเดินทางหนี "มาตุคาม"
ซึ่งเป็นเนื้อคู่บุพเพสันนิวาสมาแต่ชาติปางก่อน จิตใจของหลวงปู่ยังโลดแล่น
ไปหาสาวงามเกือบตลอดเวลา เป็นความรู้สึกที่ฟุ้งซ่านที่รุนแรงร้ายกาจ
สุดพรรณนาทีเดียว

หลวงปู่แหวนเดินทางมาถึงพระบาทเนินกุ่ม หินหมากเป้ง
จึงหยุดยั้งอบรมตนอยู่ ณ ที่นี้ และก็เป็นวาสนาของหลวงปู่ที่ได้พบกับ
ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งท่านได้ปลีกตัวออกจาก
หมู่คณะมาบำเพ็ญภาวนาอยู่ในบริเวณนั้นพอดี

หลวงปู่แหวน มีปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับท่านอาจารย์ใหญ่
การได้มาพักอบรมตน อยู่ใกล้กับท่านพระอาจารย์มั่นก่อนเข้าพรรษาปีนั้น
ทำให้หลวงปู่แหวนระงับความฟุ้งซ่านลงได้ไม่น้อย แม้กระนั้นภาพของ
หญิงงามก็ยังปรากฏเป็นครั้งคราว ทำให้ดวงจิตหวั่นไหวอยู่เสมอ
แต่เมื่อเร่งภาวนายิ่งขึ้นภาพนั้นก็สงบระงับไป หากพลั้งเผลอเมื่อใด
ภาพสาวงามก็จะผุดขึ้นมาอีก

หลังจากเข้าพรรษาแล้ว หลวงปู่แหวนได้ตั้งใจปรารภความเพียรอย่างหนัก
การเร่งความเพียรอย่างเต็มที่ ทำให้จิตสงบอย่างรวดเร็ว ทรงตัวสู่ฐานสมาธิ
ได้ง่าย ไม่วุ่นวายฟุ้งซ่านอีก คล้ายกับจิตมันยอมสยบราบคาบแล้ว
และเกิดอุบายทางปัญญาพอสมควร

แต่หลวงปู่หารู้ไม่ว่า ยิ่งเร่งความเพียรเอาจริงเอาจังหนักขึ้นเท่าใด
กิเลสที่แสร้งสงบนิ่ง ก็เริ่มต่อต้านเอาจริงเอาจังมากขึ้นเท่านั้น
คราวนี้แทนที่จะควบคุมจิต ให้ดำเนินไปตามทางที่ต้องการ
มันกลับเตลิดโลดแล่น ไปหาสาวงามที่บ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมอีก
และครั้งนี้พลังของกิเลสดูจะรุนแรงยิ่งกว่าเดิม หลวงปู่แหวนพยายาม
หาอุบายธรรมต่างๆ มาปราบเจ้าตัวกิเลสที่ฟูขึ้นมา แต่ไม่สำเร็จ

หลวงปู่เล่าว่า"ยิ่งเร่งความเพียร ดูเหมือนเอาเชื้อไปใส่ไฟ ยิ่งกำเริบหนัก
เข้าไปอีก เผลอไม่ได้เป็นต้องไปหาหญิงนั้นทันที บางครั้งมันหนีออกไป
ซึ่งๆ หน้า คือขณะที่คิดอุบายการพิจาณาอยู่นั้นเอง (จิต) มันก็วิ่งออกไป
หาหญิงนั้นซึ่งๆ หน้ากันเลยทีเดียว" โอ... "มาตุคาม" นี้อันตรายนัก
และหากเป็นบุพกรรมอันผูกพันร้อยรัดอยู่ด้วยบุพเพสันนิวาสเข้าไปอีก
การเอาชนะเพื่อยุติกรรมยิ่งลำบากยากเข็ญเป็นที่สุด"

หลวงปู่แหวนไม่ยอมพ่ายแพ้ ต่อพลังกิเลสกองนี้โดยเด็ดขาด
อุบายการปฏิบัติธรรมทุกอย่างถูกนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับกิเลสมาร
สุดชีวิต เช่น เว้นการนอนเสีย มีเฉพาะอิริยาบถนั่ง เดิน ยืน เท่านั้น

หลวงปู่แหวนทรมานจิตมันอยู่หลายวันหลายคืน พร้อมกันนั้น
ก็พิจารณาดูว่าจิตยอมอยู่ใต้บังคับหรือไม่ มันคลายความรัก
ต่อหญิงงามคนนั้นหรือไม่ ทำถึงอย่างนี้แล้วกลับไม่ได้ผล
เพราะเผลอเมื่อไหร่ จิตมันจะโลดทะยานไปหาหญิงนั้นอีก

เอาใหม่...เมื่อจิตมันยังรัดรึงอยู่กับ "มาตุคาม" ไม่ยอมปล่อย
ยอมคลาย หลวงปู่จึงตัดอิริยาบถนั่งกับนอนทิ้งไป เหลือยืน
กับเดินจงกรม กระทำความเพียรเช่นนี้ทั้งวันทั้งคืน

แต่จิตมันก็ยังแส่ส่ายไปหาหญิงงามไม่ยอมหยุด ยิ่งทรมาน
มันมากเท่าไหร่ ดูเหมือนว่ามันจะดื้อรั้นโต้ตอบมากเท่านั้น

คราวนี้เปลี่ยนวิธีใหม่อีก... ไม่ฉันอาหารมันล่ะ เหลือแต่น้ำอย่างเดียว
ถ้าจิตมันยังดื้อถือดี ยังทะยานเข้าหากองกิเลสไม่ยอมเลิกรา
หลวงปู่ตั้งเจตนาว่า ตายเป็นตาย ให้มันรู้ไปว่าจิตได้พ่ายแพ้
แก่อำนาจกิเลสอย่างราบคาบแล้ว

หลวงปู่แหวนเพ่งพิจารณา หาอุบายกำราบจิตใหม่
โดยการเพ่งเอาร่างกายของหญิงงามนั้น ยกขึ้นมา
แล้วพิจารณากายคตาสติ แยกอาการ ๓๒ นั้นทีละส่วน
โดยอนุโลม ปฏิโลมเทียบเข้าหากายของตน พิจารณาละเอียด
ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า อวัยวะแต่ละส่วนของหญิงนั้น
ก็มีเหมือนกันทุกอย่าง จะผิดแผกแตกต่างกัน
ก็ด้วยลักษณะแห่งเพศเท่านั้น

หลวงปู่ทรงสมาธิ แล้วพิจารณาอยู่เช่นนั้นกลับไปกลับมา
ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญาพิจารณา กายคตาสติ ไปจนถึงหนัง
ถ้าถลกหนังที่ห่อหุ้มเนื้อออกจนหมด ความจริงก็ปรากฏทันที
นั่นคือ เนื้อกายซึ่งปราศจากผิวหนังห่อหุ้มอ ยู่ย่อมีสภาพที่ไม่น่าดู
หรือ ดูไม่ได้เอาเสียเลย เพราะเหลือแต่เนื้อแดง ๆ เยิ้มด้วยน้ำเหลือง
มีเส้นเลือดผุดพราวไปทั่ว "ตัวรู้" ก็บอกว่าหากหญิงงามไม่มีหนังหุ้ม
เหลือแต่เนื้อแดง ๆ ใครเล่าจะพิศวาสได้ลงคอ

อ้อ... คนเรามา "หลง" อยู่ตรง "หนัง" นี่เอง
ปัญญาเพ่งพินิจต่อไปอีกจนเห็นความเน่าเปื่อยแล้วก็สลายกาย
เป็นกองเนื้อเน่า ๆ และกองกระดูกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรตั้งอยู่
ทรงสภาพเดิมไว้ได้อีก ไม่มีส่วนไหนจะคงอยู่ได้เลย

ปัญญาเพ่งต่อไปถึง มูตร (ปัสสาวะ) และ กรีษ (อุจจาระ) ของหญิงงาม
ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า ที่หญิงงาม น่ารัก น่าพิศวาสนั้น มูตรกับกรีษ
งามด้วยหรือเปล่า กินได้ไหม เอามาตระกองกอดได้ไหม
"จิต" ตอบว่า "ไม่ได้" ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า เมื่อกินไม่ได้
เอามาตระกองกอดไม่ได้ แล้วอันไหนล่ะที่ว่างาม อันไหนที่ว่าดี
จิตโดนปัญญาซักฟอกอย่างหนักเช่นนั้นก็ตอบไม่ได้ หาเหตุผล
มาโต้แย้งไม่ได้ จิตมันก็อ่อนลงเพราะจนด้วยเหตุผลของปัญญา
ก็ต้องยอมรับความเป็นจริง ยอมสารภาพผิดแต่โดยดี
จิตซึ่งเคยโลดแล่นแส่ส่ายออกไป ตามวิสัยความอยากของมัน
ก็พลันถึงความสงบ ไม่กำเริบร้อนเร่าอีก

หลวงปู่แหวนยังไม่วางใจจิตนัก ท่านจึงทดสอบ
โดยส่งจิตไปหาหญิงงามบ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมหลายครั้ง
แต่จิตก็ไม่ยอมโลดแล่นไปอีก จิตคงทรงอยู่ในความสงบเพราะ
ได้เห็นความเป็นจริงของธรรมแล้ว

การอดอาหาร และทำความเพียรอย่างยิ่งยวด เพื่อเอาชนะกิเลสมาร
ของหลวงปู่แหวนครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ จิตของท่าน
รู้แจ้งเห็นจริงในภัยของมาตุคาม อย่างทะลุปรุโปร่งและสิ้นพยศ
ตั้งแต่นั้น...ตลอดไป
ข้อมูลจากหนังสือ อนุสรณ์หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ


ขอเชิญถวายผ้าป่า ณ วัดบรรพตเขมาราม
ต นาแขม
อ กบินทร์บุรี
จ ปราจีนบุรี
ถวายผ้าป่าในวันที่14 ธ.ค 58เดือนนี้


ขอเชิญจองเป็นเจ้าภาพ พระเนตรนิลแท้ พระเกศโมฬีปิดทอง พระอุณาโลมเรือนเงินประดับพลอยขาวแดง
แจ้งการร่วมบุญได้ที่ ๐๘๔๗๐๒๐๑๙๔


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพเททองหล่อพระประธานประจำอุโบสถ วัดโพธิ์ศรี อ.เมือง จ.ขอนแก่น 7 ธ.ค.58


ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสร้างเจดีย์ประทีบธรรมชัย ณ วัดวรรณวารี อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี


ขอเชิญร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีครับ
สร้างพระพุทธรูป ขนาดใหญ่ พระพุทธชินราช หน้าตัก 32 เมตร
สูง 49 เมตร
ทอด ณ วัด อัมพวันวนาราม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี
วันที่ทอด 19 ธันวาคม 2558



โครงการบูรณะบันไดภายในองค์พระธาตุพนมบรมเจดีย์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ :
คุณกิตติวัฒน์ อ่วมอารีย์ โทร. 08-3344-4554
คุณองอาจ เลี้ยงพันธุ์สกุล โทร. 08-2616-5654
นพ.วิกรม จิวะชาติ โทร. 09-8562-3563



ขอเชิญร่วมบุญใหญ่ เททองหล่อพระ 30นิ้ว ณ วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม 9ธันวาคม2558 เททองเวลา13.09



ร่วมมหากุศลใหญ่สร้างพระอุณาโลมถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์พระประธาน 79 นิ้ว วัดป่าคา จ.พะเยา
https://www.facebook.com/WatPakaBuddha



ขอเชิญร่วมบุญสร้างบันไดทางขึ้นสู่ถ้ำธรรมชาติ ซึ่งสามารถจัดทำเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมได้ บริเวณวัดป่าเมตตาวนาราม ต. ป่าหุ่ง อ.พาน เชียงราย



ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมเป็นเจ้าภาพงานบุญยิ่งใหญ่ครั้งสำคัญในชีวิตเททองหล่อหลวงพ่อพระพุทธชินสีห์องค์จำลองพร้อมทั้งพระอนุรุทธะ-พระอานนท์ และพระพุทธรูปต่างๆ
ณ วัดมะเดื่อ ตำบลทุ่งนาไทย อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
วันที่ 30-31 มกราคม พ.ศ. 2559



ร่วมเป็นเจ้าภาพแผ่นมุงหลังคากันแดดฝน เมตรละ 120 บาท วัดป่าซับวารินทร์รัตนมงคล เพชรบูรณ์
ตามกำลังศรัทธาที่
วัดป่าซับวารินทร์รัตนมงคล
หมู่ 7 บ้านซับวารินทร์
ต.บัววัฒนา
อ.หนองไผ่
เพชรบูรณ์



ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างห้องน้ำหลังใหม่ 12 ห้อง สำนักสงฆ์ป่ากิจจาธรรม (ธ) ต.คอกควาย บ้านไร่ จ.อุทัยธานี


ขอเชิญสาธุชนทุกท่านร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศาลาโรงครัว วัดสามชัยวนาราม หมู่ที่ 4 ตำบลสำราญ อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์


ขอเชิญเจ้าภาพพระพุทธรูป ปางพระสูติ เนื้อปูนซีเมนต์ ทาสี
เพื่อประดิษฐาน ณ ใต้ต้นสาละ วัดน้ำลัด ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน



ขอเชิญสร้างพระธาตุดอยแก้วชัยมงคล อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
Tel 0998954663


ขอเชิญร่วมสมทบทุน บุญยกพระประธานขึ้นฐานพุทธมณฑลพระนครศรีอยุธยา
ณ วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
(สำนักปฏิบัติธรมประจำจังหวัด แห่งที่13 พุทธมณฆลพระนครศรีอยุธยา)
กำหนดการ วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2559
เวลา 10.30น. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพระพุทธมนต์ - ฉันเพล
เวลา 14.09น. ทอดผ้าป่าสามัคคี พระพ่อรักษ์กล่าว สัมโมทยีกถาฯพิธี




ขอเชิญร่วมบุญพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
รับผ้าป่าตึกนวมินทร์บพิตร 84 รพ.ศิริราช
1 ธันวาคม 2558 เวลา 9.50 น.
ร่วมทำบุญตึกนวมิทร์บพิตร 84 รพ.ศิริราช
ร่วมกับหลวงพ่อได้ถึง 15 ธันวาคม 2558
ธ.กสิกรไทย สาขาสิงห์บุรี
ชื่อบัญชี: วัดอัมพวันโดยพระธรรมสิงหบุราจารย์
135-2-52194-5
(บัญชีนี้เปิดเฉพาะกิจงานนี้เท่านั้น)
หรือถวายที่หลวงพ่อเขียนมุมซองว่า"ศิริราช"
https://www.facebook.com/photo.php?fbid ... nref=story



ขอเชิญร่วมบุญถวายค่ายานพาหนะจาริกแสวงบุญอินเดีย-พม่าแด่พระภิกษุสงฆ์
ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ คุณฟา 089-1094455



ขอเรียนเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่า เพื่อสมทบทุนสร้างถนนเข้าวัดป่าเขาภูหลวง กับหลวงปู่ไม อินทสิริ ในวันอาทิตย์ที่ 24/1/2559 ร่วมบุญสร้างถนนเข้าวัดป่าเขาภูหลวง จ.นครราชสีมา




ขอเชิญทุกท่านร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี
เพื่อสมทบทุนสร้างกุฏิและบูรณะห้องน้ำ ห้องส้วมที่ยังไม่เสร็จ
ณ วัดป่าดงกะพุง ม.5 ต.น้ำจั้น อ.เซกา จ.บึงกาฬ
วันที่ 2 มกราคม 2559 (แรม 8 ค่ำเดือน 1)
เวลา 9.00 น. ถวายผ้าป่า



วัดหาดนาค อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
ขอเชิญท่านสาธุชนร่วมทำบุญ
ในพิธีเข้าโสสานกรรม (ปฏิบัติธรรมรุกขมูลกรรม ณ สุสานป่าช้า)
เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างเมรุเผาศพ ณ ป่าช้าบ้านหาดนาค
ในวันที่ ๒๕ - ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘
เข้าโสสานกรรมวันที่ ๒๕ ธ.ค. เวลา ๑๖.๐๐ น.
ออกโสสานกรรมวันที่ ๓๐ ธ.ค. เวลา ๐๙.๐๐ น.




ขอเชิญร่วมงานบรรพชา-อุปสมบท ในวันที่4-31ธันวาคม2558ณ วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อ.บัวเชด จ.สุรินทร์



ขอเชิญร่วมบุญ ปรับปรุงระบบโล่าเซลล์ สำนักสงฆ์เขาดิน ตำบลปะตง อำเภอสอยดาว จันทบุรี



(ปิดรับ9ธ.ค.) ร่วมซื้อหนังสือ"หลวงพ่อธุดงค์"50เล่มๆ50บาทวางแจก"งานธุดงควัตร"ที่วัดท่าซุง
0853614989



ขอเชิญร่วมบุญถวายเครื่องซักผ้า สำนักปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร บ้านน้ำพุ หมูที่ ๓ ต.บ้านกวาง อ.สูงเม่น จ.แพร่ ๕๔๑๓๐ โทร. ๐๘๙ ๒๑๓๗๗๕๙
https://web.facebook.com/SanakPtibatiTh ... kr/?ref=hl



ด้วยทางวัดหาดนาค อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ มีความต้องการที่จะซื้อเก้าอี้บุนวมขาเหล็กสำหรับใช้ในศาลาการเปรียญและศาลาอเนกประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พระภิกษุสงฆ์และคณะญาติธรรมที่มาทำบุญและใช้ในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาภายในวัด ดังนั้นทางวัดจึงขอความเมตตาอนุเคราะห์จากท่านผู้ใจบุญและผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพบริจาคสมทบทุนในครั้งนี้เพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวด้วยเทอญ



ขอเชิญร่วมบุญ สร้างโลงเย็น 9 โลง ถวาย 9 วัด
วันที่ 23-24 มกราคม 2559 จ.สุรินทร์-จ.บุรีรัมย์
เบอร์ติดต่อ 091-7959959



ร่วมบุญถวายเทียนหอม 50,000เล่มใช้ตลอดปี 59
ให้คนได้ใช้สวดมนต์และนั่งสมาธิ
วัดพระบรมธาตุนครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร




ขอเชิญร่วมบุญภวายภัตตาหาร สังฆทาน น้ำปานะ และร่วมบุญโรงทาน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid ... =3&theater



ขอเชิญทอดผ้าป่าสร้างกุฏิกรรมฐาน 17 ม.ค.59 ณ ธรรมสถานไผ่ล้อมรัตน์ ต.บ้านกลาง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก



ขอเชิญซื้อที่ดินถวายสถานปฏิบัติธรรม
มือถือ 088-9415546



ขอเชิญร่วมบุญสมทบทุน "มูลนิธิเพื่อการพัฒนาสถาบันโรคผิวหนัง"
บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “มูลนิธิเพื่อการพัฒนาสถาบันโรคผิวหนัง”
ธนาคารกรุงไทย สาขาสถาบันโรคผิวหนัง เลขที่บัญชี 981-8-52656-2
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
02-354-5222



ขอเชิญร่วมบุญช่วยเหลือเด็กในโรงเรียนที่ห่างไกล
087-947-2855


ขอเชิญสาธุชนร่วมงาน ๔ พิธีใหญ่ใน ๑ วัน
วันศุกร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๐๙ น.
ณ. วัดทำนบ ต.ทำนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
พิธีประกอบด้วย
๑. หล่อหลวงพ่อพุทธชินราช หน้าตักกว้าง ๒๙ นิ้ว ๔ องค์
๒. เททองหล่อหัวใจหลวงปู่เดิมองค์ใหญ่
๓. หล่อองค์หลวงปู่เดิมหน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว
๔. พิธีปลุกเสกวัตถุมงคล “รุ่นสร้างหลวงพ่อเดิม




ขอเชิญร่วมหล่อรูปเหมือน
หลวงปู่มั่น
หลวงตามหาบัว
หลวงปู่ลี
ณ วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี
วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2558 เวลา 10.00 น.



ขอเชิญทุกท่านร่วมบุญปั้นพระเจ้าทันใจองค์ที่ 15
(กองบุญหมื่นฟ้า)
ประดิษฐาน ณ วัดศรีสังวร อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย
เริ่มปั้นวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2559



ขอเชิญร่วมหล่อพระประธานพระอุโบสถ วัดไสเสียด จ.พังงา
วันที่ 25 ธ.ค. 2558



ขอเชิญ ศรัทธาสาธุชน หล่อพระพุทธรูป
พิธีเททองพระ วัดศีรษะทอง นครปฐม วันที่ 11 ธ.ค. 59 เวลา 19.00
พระประธานองค์จำลอง พร้อมคู่พระอัครสาวก ณ วัดห้วยพระ นครปฐม เททองหล่อ วนที่ 1 ม.ค.59
และพิธีเททองหล่อ พระหลวงพ่อทวด / หลวงพ่อสัมฤธิ์ วัดจินดาราม นครปฐม วันที่ 3 ม.ค. 59




ขอเชิญร่วมสร้างพระมหากรุณาพุทธธัมมิราช สูง 12 เมตร วางศิลาฤกษ์ 1 ม.ค. 2559



ขอเชิญร่วมหล่อรูปเหมือน หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ 30 ธ.ค. 2558
ตอบกระทู้