นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 8:25 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: โลกธรรม 8
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 07 ธ.ค. 2015 8:39 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
ผู้ที่ หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่
หลงและมัวเมา ในอำนาจวาสนา
ตำแหน่งหน้าที จนลืมไปว่าอีกไม่นาน
ตนก็จะต้องทิ้ง ต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป
และเมื่อได้พรากจากไปแล้ว
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมา
เฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น
ก็ต้องสลายไปพร้อมกับ ความตาย ของตน




"ทั้งหมดอยู่ที่ความประพฤติ"
..ตลอดชีวิตของหลวงปู่ ท่านจะไม่ยอมรับ
กับการถือฤกษ์งามยามดีอะไรเลย
แม้จะถูกถาม ถูกขอให้บอกเพียงว่า จะบวชวันไหน
จะสึกวันไหน หรือวันเดือนปีไหนดี
เสียอย่างไร หลวงปู่ก็ไม่เคยเผลอเอออวยด้วย
มักจะพูดว่า..วันไหน เดือนไหนก็ดีทั้งนั้นแหละ!
คือ ถ้ามีผู้ขอเช่นนี้ หลวงปู่ท่านมักให้เขาหาเอาเอง หรือ
มักบอกว่า วันไหนก็ได้ ถ้าสะดวกดีแล้ว เป็นฤกษ์ดีทั้งหมด.
หลวงปู่ จะสอนว่า..
"...ทุกอย่าง รวมอยู่ที่ความประพฤติ
คือ ฤกษ์ดี ฤกษ์ร้าย โชคดี โชคร้าย
เรื่องเคระห์ กรรม บาป บุญ อะไรทั้งหมดนี้
ล้วนออกมาจาก ความประพฤติของมนุษย์ ทั้งนั้น..."

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์





‎เบื้องต้นต้องหาทางทำยังไงจิตให้สงบ‬ ทำให้ได้ ทำสมาธิภาวนา ๗ วัน ๑๐ วัน ทำให้ได้ แล้วก็ทรงสมาธิให้ได้ ถ้าทรงสมาธิได้ จิตเป็นหนึ่ง เป็นเอกคัตตาจิตเนี่ยสบาย ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นสัมผัสรส กายสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ความรู้สึกพอใจเกิดขึ้น หรือความรู้สึกตรงกันข้ามความไม่พอใจเกิดขึ้น สติมันเห็น เพราะสติมันอยู่ที่จิต อารมณ์ก็ออกจากจิต กิเลสก็ออกจากจิต เมื่อสติมันตั้งมั่นจากสมาธิเนี่ย สติมันเห็น มันรู้เท่าทัน เมื่อรู้เท่าทันมันมีพลังของปัญญา พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส นั้นจะปล่อยว่างได้ในขณะจิตนึง ในปัจจุบันนั้นเลย สติ สมาธิ ปัญญา แหลมคม จะละกิเลสได้ในปัจจุบัน ชั่วคราวนะ ละอารมณ์นี่มันชั่วคราว


จะถอดกิเลสนะมันต้องคิดพิจารณากายในกาย ตั้งแต่โสดาบันผล ถึงอนาคามีผล ตั้งแต่กายอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ๓ ระดับ กายอย่างหยาบก็โสดาบันผล กายอย่างกลางก็สกิทาคาผล กายอย่างละเอียดที่ละได้ก็อนาคามีผลนั้นล่ะ นี่แหละเป้าหมายของการพิจารณา กายในกายเนี่ย อันนี้เป็นทางที่ไม่ผิด ไม่เชื่อก็ลองทำดู แล้วจะเห็นประจักษ์ชัดด้วยใจของตนเอง รู้เห็นธรรมขึ้นมาก็ด้วยใจของตนเอง ใจจะเป็นธรรมขึ้นมาก็ด้วยพิจารณากายในกายนี่แหละ พิจารณาอารมณ์นั้น ปล่อยวางชั่วคร่าวเท่านั้นแหละ วันนี้ละรูปนี้ลงไป ละเสียงนี้ กลิ่นนี้ รสนี้ ออกไป พรุ่งนี้ รูปใหม่ รสใหม่ กลิ่นใหม่ สัมผัสใหม่ ไม่เหมือนเดิม สติปัญญาต้องทำงาน เหนื่อย เหมือนเดิมทุกๆวัน ละวางได้แต่เพียงชั่วคราวเท่านั้นแหละถ้าไม่ขุดรากถอนโคน รากเหง้าคืออุปาทานความยึดมั่นในกายตนแล้วเนี่ย อารมณ์ไม่มีทางระบาด


ผู้ที่ดูจิต พิจารณาจิต พิจารณาอารมณ์ทั้งนั้น ไม่สามารถที่จะเข้าสู่มรรคผลนิพพานได้ เพราะไม่เห็นความไม่เที่ยงของกายนี้ ถ้าผู้ใดไม่ผ่านทางการพิจารณากาย แล้วว่าตนบรรลุโสดาบันจนถึงอรหันต์นั้น อันนั้นด้วยความหลง ด้วยความวิปลาส วิปริต ต้องผ่านการพิจารณากายหมด พระอริยะบุคคลเบื้องต้น จนถึงพระอนาคามี จึงจะพิจารณาจิตที่ละเอียด หรือ กิเลสที่ละเอียดได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้ามาบวช อุปชาย์ท่านใดไม่ได้ให้พิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็ทำให้กุลบุตรนั้นเป็นหมันจากมรรคผลนิพพานได้เลยในปัจจุบันชาติ เพราะไม่ชี้ทางไม่บอกทางแห่งมรรคผลนิพพาน กรรมฐานทั้งหลายก็มีอยู่ สติปัฏฐาน ๔ ก็ขึ้นด้วยกายก่อน แล้ว เวทนา จิต ธรรม สังโยชน์ ๑๐ ก็ละสักกายะทิฐิ เรื่องของกายทั้งนั้น อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นเรื่องถ่ายถอนกิเลส ทำให้ความโลภความโกรธความหลงเบาบางไปได้ จนดับความโลภ ดับความโกรธได้เลย ละความยินดีในกามทั้งหลายเรื่องของกายนี่แหละ เพราะฉะนั้นต้องฝึกซ้อมพิจารณา

ท่านใดคิดจิตยังไม่สงบ เมื่อถึงเวลาเข้าที่เดินจงกรม ให้ทำความรู้สึกไว้ที่ต้นทาง ระลึกถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ต่อไปนี้เราจะเดินจงกรมเพื่อที่จะฝึกสติของเรา อยู่กับกรรมฐานที่เราภาวนา จะเดินไปกลับ ๑๐ รอบจะไม่ให้คิดถึงสิ่งอื่นใดเลย นอกจากคำบริกรรมภาวนาว่า พุทโธ หรือ กำหนดที่เท้าสัมผัส หรือ กรรมฐานบทใดบทหนึ่ง เดินไปกลับ ๑๐ รอบ อย่าให้ความคิดใดมาแทรก หรือจะเดิน ๒๐นาที ครึ่งชั่วโมง ขจัดความคิดออกไปก่อน ตะเพิดกิเลสออกไปว่า เราคิดมาตลอดจะ ๒๔ ชั่วโมงแล้ว เวลานี้ไม่ใช่เวลาคิด อย่าไปตามกิเลส อย่าไปปล่อยให้จิตนึกคิดปรุงแต่ง สารพัดเรื่อง สารพัดอย่าง เป็นการเดินจงกรมเดินนึกคิดเอา ไม่ได้เดินทำสติทำสมาธิ

ตามหลักผู้ที่จิตไม่สงบในเบื้องต้น ในเวลาเดินจงกรมให้ทำสติอยู่ที่กรรมฐานที่ภาวนาเท่านั้น ถ้าเผลอสติออกไปก็ตั้งสติใหม่ขึ้นมา เผลอสติก็ตั้งสติขึ้นมาอยู่กับกรรมฐานเรา ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องคิดเรื่องอดีตเรื่องอนาคต อย่าไปหลงกลกิเลส ปรุงแต่งส่งเสริมไป จะว่าบังคับจะว่าควบคุมก็ช่างเถอะ เราจะทำสติสมาธิก่อน

เห็นไหม หลวงตามหาบัวเมื่อปฏิบัติเริ่มต้นใหม่ๆ เมื่อทำกลดจิตเสื่อมจากสมาธิท่านเจ็บใจอาฆาตแค้นกิเลส บอกจะไม่ทิ้งพุทโธเลย จะไม่ทิ้งคำบริกรรมภาวนาพุทโธเลย ไม่ว่าจะอยู่ในอริยาบท ยืนเดิน นั่ง นอน จะไม่ทิ้งคำภาวนาพุทโธเลย ใจให้แนบแน่นอยู่ตรงนั้น นั้นแหละการฝึกสติให้เป็นหนึ่งเดียว เมื่อเราจิตไม่สงบให้เดินจงกรมกำหนดสติอยู่กับกรรมฐานที่เรากำหนดภาวนา จิตจะคิดไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็ตัดออกไป ไม่ใช่เวลาคิดตะเพิดออกไป เดินไป ๑๐ รอบก็ให้มีสติอยู่กับพุทโธนั้นแหละ

ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ หรือนั่งสมาธิก็ตามกำหนดระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั่่งคู้บัลลังก์ขัดสมาธิ กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานที่เราภาวนา จะกำหนดอาปานสติ หรือ พุทธานุสติ หรือ กรรมฐานบทใดบทหนึ่งก็แล้วแต่ ให้ทำจิตให้ว่างจากอารมณ์ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องอดีต เรื่องอนาคต เรื่องปัจจุบัน ให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน ถ้าเรานั่งอยู่กับหมู่ ให้เราทำใจให้เหมือนนั่งอยู่บนท้องฟ้าคนเดียว กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานของเราเท่านั้นแหละ ถ้าคิดเรื่องอดีต ก็ตั้งสติขึ้นมาใหม่ คิดถึงเรื่องอนาคตก็ตั้งสติขึ้นมาใหม่อยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับคำบริกรรมภาวนา ทำอย่างนี้ไปก่อน สำหรับผู้ที่ไม่มีความสงบ ทำอย่างนี้ไปก่อน ใครจะว่าบังคับก็ตาม ควบคุมก็ตามไม่สนใจ เราจะควบคุมจิตใจเราให้ได้หนิ ปล่อยจิตใจมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติแล้ว เค้ายังฝึกช้างให้เชื่องได้ ฝึกม้าให้หายพยศ ฝึกหมาให้เชื่องได้ ทำไมใจตัวเราฝึกให้ดีไม่ได้ จะฝึกให้มันนิ่ง นิ่งไม่ได้เหรอ กำหนดอยู่ตรงนั้นแหละ
ถ้ามันเครียดตึง ปวดศรีษะ ปวดร่างกาย ปวดเส้น มันตึงไปก็รู้จักวางจิตให้เป็นกลางหน่อยผ่อนลงมาหน่อย อย่าไปเพ่งมากมายนัก พอผ่อนลงไปมากก็หย่อน เกิดนิวรณ์ อันนี้ก็หย่อนเกินไป กำหนดสติให้ถี่ขึ้นมาหน่อย หาความเป็นกลางให้ได้ ทำยังไงสมาธิจึงจะเกิดขึ้น หาความพอดีให้ได้ การนอนก็พิจารณาแล้วนอนขนาดไหนพอดี การฉัน ฉันขนาดไหนจึงจะพอดีพิจารณาแล้ว ทีนี้เรื่องการทำความเพียร หาเวลาเดินจงกรมนั่งสมาธิ สลับกันไปตลอดเป็นผู้ปรารถความเพียรอยู่เสมอ ว่างเข้าที่เดินจงกรม ว่างเข้าที่นั่งสมาธิ




ประโยชน์ของการฟังธรรมของพระพุทธเจ้า

เข้าใจธรรมเพียงบทเดียว ก็เพียงพอ
คามณิ !
... เพราะเหตุว่า
ถึงแม้เขาจะเข้าใจธรรม
ที่เราแสดงสักบทเดียว
นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
และความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น
ตลอดกาลนาน

สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๗/๖๐๓.





บุคคลมี10 จำพวกในโลก แต่แบ่งเป็นกลุ่ม
(กลุ่มฟังธรรมรู้แจ้งชัด 5 จำพวก กับ กลุ่มไม่ฟังธรรมไม่รู้แจ้งชัด 5 จำพวก) คือ บุคคลดังนี้

1.ทุศีล
2.มีศีล
3.ราคะกล้า
4.มักโกรธ
5.ฟุ้งซ่าน

ถ้าทั้ง5 จำพวกดังกล่าวข้างต้นกระทำ 4 เหตุปัจจัยคือ

1.กระทำกิจเนื่องด้วยการฟัง(ธรรมของพระศาสดา)
2.กระทำกิจเนื่องด้วยความเป็นพหูสูตร(ฟังมากฟังบ่อยหรือการสาธยายธรรมอันเป็นอาหารของความเป็นพหูสูตร)
3.รู้ชัดซึ่งปัญญาวิมุต เจโตวิมุต อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งความทุศีล
4.แทงตลอดอย่างดีด้วยทิฐิ

****เมื่อตายไปจะไปทางเจริญอย่างเดียว ไม่ไปทางเสื่อม ถึงความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม***

แต่ถ้าทั้ง 5 จำพวก(แม้มีศีล) ไม่กระทำ 4 เหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น

*****เมื่อตายไปจะไปทางเสื่อมอย่างเดียว ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญ*******

ตามพระสูตรขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มิคสาลาสูตร

[๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน.....(ย่อ) ....

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก ๑๐ จำพวก
เป็นไฉน

*****ดูกรอานนท์บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น ไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อม ไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อมไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความ เสื่อม ไม่ถึงความเจริญ

*****ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีลแต่รู้ชัดซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณ
ในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะ
เหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดีก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อม
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใด
เป็นผู้ทุศีลและรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีล
ของเขา ตามความเป็นจริง กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย ดูกรอานนท์บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคตดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
*****ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญดูกรอานนท์
*****ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติ
แม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญ อย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อมดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณใน บุคคลได้ ฯ
*****ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา
วิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้
ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้
วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม
อย่างเดียวไม่ถึงความเจริญ
*****ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความ เจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
*****ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจ
แม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้
วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม
อย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
*****ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟังกระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึง ความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ
*****ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่กระทำกิจ
แม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้
วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม
อย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
*****ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัด ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตแทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

พระสุตตันตปิฎก เล่ม16 อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต ข้อ75 หน้า 122-125


โอกาสในการเกิดเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก....

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ถ้าสมมติว่า มหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้มีน้ำท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด; บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก(ไม้ไผ่ ) ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น;
ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก, ลมตะวันตก
พัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไป
ทางทิศใต้, ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ, อยู่ดังนี้ในน้ำนั้น มีเต่าตัวหนึ่ง ตาบอด ล่วงไป
ร้อย ๆ ปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้
ว่าอย่างไร : จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?

“ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น”
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน
ที่ใคร ๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์; ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้นในโลก; ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัย
อันตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! แต่ว่า บัดนี้ ความเป็นมนุษย์ ก็ได้แล้ว;
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว;
และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้
พวกเธอพึงกระทำโยคกรรม เพื่อให้รู้ว่า
“นี้ ทุกข์;
นี้ เหตุให้เกิดทุกข์;
นี้ ความดับแห่งทุกข์;
นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้ เถิด.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๔.

และอีกหนึ่งพระสูตร

ภิกษุทั้งหลาย !
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :
ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น
ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน
ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้
เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี
ย่อมไม่ถึ่งซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่มนุษย์
มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิด
ในนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ :-
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำใหรู้ว่า
ทุกข์เป็นอย่างนี้
เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
ทางดำเนินใหถึ้งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้
ว่าอย่างไร : ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับ
มหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน
ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้
เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี
ย่อมไม่ถึ่งซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น :
สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่เทวดามีน้อย
โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก
กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ :-
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า

ทุกข์เป็นอย่างนี้
เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
ทางดำเนินใหถึ้งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้.



ขอเชิญร่วมเข้าปฏิบัติธรรม
http://www.vipassanathai.org/english/in ... leregister



วัดแพร่แสงเทียนขอเชิญเข้าร่วมปฏิบัติธรรม จ.แพร่
1-10 ม.ค.59
1-10 เม.ย.59
11-20 เม.ย.59
1-10 ก.ค.59
1-10 ต.ค.59
ติดต่อคุณ มิ้ม tel 0622644498



ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมกับยุวพุทธิกสมาคม
http://www.ybat.org/v5/index.php



ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมถือธุดงค์ 5-15 มกราคม 2559 ณ ปัณฑิตารมย์ หมู่ 5 ต.พุคำจาน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี
และเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพอาหารและเครื่องดื่ม แด่ภิกษุและผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม วันละ 500 บาท
ผู้สนใจติดต่อโทร. 089 - 766 – 2373



ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมปฏิบัติธรรมในกิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ ฟังธรรมตลอดทั้งคืนเพื่อตอนรับวันปีใหม่
ในวันที่ 27 ธันวาคม 2558 – 1 มกราคม 2559 ณ วัดป่าเอราวัณ ต.ผาอินท์แปลง อ.เอราวัณ จ.เลย


ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมกับมูลนิธิหอธรรมพระบารมี
http://member.kondee.com/member/schedule_year.php



ขอเชิญปฏิบัติธรรมร่มอารามธรรมสถาน
เป็นสาขาของวัดตาดน้ำพุ (ต.คำด้วง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี)
http://www.romaram.org/


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO