การเตรียมอนาคตที่สำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือ การเตรียมอนาคตในภพชาติเบื้องหน้า ทุกคนจะมีชีวิตอยู่ในชาตินี้อย่างมากก็ประมาณร้อยขวบปีเท่านั้น จะทุกข์จะสุขในภพชาตินี้ก็จะชั่วระยะเวลาที่ไม่นานเท่าไร โดยเฉพาะผู้ผ่านพ้นวัยเด็กมาศึกษาธรรมอยู่แล้วในขณะนี้ ย่อมมีเวลาในภพชาตินี้อีกไม่นานเลย ได้ความมั่งมีศรีสุข ลาภ ยศ สรรเสริญ ในภพชาตินี้สักเพียงไรก็ไม่อาจรักษาไว้ได้นาน แต่ภพชาติในอนาคตนั้นนานหนักหนานับปีนับชาติไม่ได้ จึงควรเตรียมภพชาติในอนาคตมากกว่า ที่ท่านเรียกว่า เตรียมเสบียงเดินทางไว้สำหรับภพชาติข้างหน้า คือเตรียมบุญกุศลไว้ให้พร้อม ให้เพียงพอแก่ทางที่ไกลแสนไกลจนประมาณไม่ได้ บุญกุศลที่จะเป็นเสบียงเดินทางนั้นต้องประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา การทำจิตทำใจให้ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์จาก โลภ โกรธ หลง จำเป็นที่สุด สำคัญที่สุด และก็มีโอกาสจะทำได้มากที่สุด เพราะไม่ต้องประกอบด้วยอะไรอื่นเลย ใจมีอยู่กับตัวเราเองแล้ว กิเลสก็อยู่กับใจนั่นเอง ถอดถอนออกเสียให้เสมอทุกเวลานาที ทุกอิริยาบถ ย่อมได้รับผลเป็นเสบียงที่พึงปรารถนาของนักเดินทางที่สุด . สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก คัดจากพระนิพนธ์ "วิธีสร้างบุญบารมี"
" ถ้าอุปสรรค..ไม่มี จะรู้ได้ยังไง ว่าสิ่งดีๆ มันจะเกิดขึ้นได้.. จากความพยายาม.."
ถ้าชีวิตเป็นของเราจริงๆ เรายิ่งต้องทำให้มัน..มีค่า ขวนขวาย เรียนรู้ เพื่อให้ได้มา เราจะได้รู้จักคุณค่า..ของตัวเอง
การใช้ชีวิตที่..ผิดพลาด อาจเกิดจาก "พึ่งพา" คนอื่นมากเกินไปก็ได้ ยืนด้วยตัวเองบ้าง คงไม่เป็นไร ใครๆก็เคยคลานเองได้..ก่อนยืนเป็น
อยากทำให้พ่อแม่..ภูมิใจ ต้องหัดทำอะไร ด้วยตัวเองบ้าง อย่าหวังแต่จะพึ่งใบบุญคนอื่น ไปนานๆ เพราะไม่มีชีวิตใครจะยืนได้นาน..เหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...
ภิกษุนั้น...ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในเสียง อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในเสียง อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...
ภิกษุนั้น... รู้สึกกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในกลิ่น อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในกลิ่น อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...
ภิกษุนั้น... ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรส อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในรส อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...
ภิกษุนั้น... ถูกต้องสัมผัสด้วยกายแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในสัมผัสทางกาย อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในสัมผัสทางกาย อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...
ภิกษุนั้น... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในธรรมารมณ์ อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในธรรมมารมณ์ อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตหาประมาณมิได้ด้วย ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลายด้วย
ภิกษุนั้น... เป็นผู้ละเสียได้แล้ว ซึ่งความยินดี และความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาใด ๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้น ๆ
เมื่อภิกษุนั้น... ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ นันทิ (ความเพลิน) ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป
เพราะ...ความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น... จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะ...มีความดับแห่งอุปาทาน... จึงมีความดับแห่งภพ เพราะ...มีความดับแห่งภพ... จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะ...มีความดับแห่งชาตินั่นแล.., ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะฯ จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
มู. ม. ๑๒/๔๙๔/๔๕๘.
หากอยากพ้นทุกข์ ทุกอิริยาบถต้องเป็นความเพียร
"เราเดินบิณฑบาต ไม่ได้คำนึงถึงข้าวที่เขาจะใส่นะ ในใจมีแต่พุทโธๆ ติดแนบกันไป .."
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
"การให้อโหสิกรรม ก็คือ การให้อภัยความผิด พลาดพลั้ง ที่ผู้อื่นกระทำต่อตน ผลของการให้อภัยนี้ ย่อมเกิดแก่ผู้ให้ทันที คือ การดับทุกข์ในใจเพราะไฟโทสะ เกิดเป็นความสงบเย็นในใจ เพราะไม่คิดจองเวรจองกรรมอีกต่อไป"
" หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม "
|