Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

องค์ประกอบของงาน

พฤหัสฯ. 18 ก.พ. 2016 7:24 pm

บาลี: อนวชฺชานิ กมฺมานิ (อะนะวัชชานิ กัมมานิ) ทำงานที่ไม่มีโทษ คือ งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิดหากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใสเมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไปได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน งานที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

องค์ประกอบของงานไม่มีโทษจะต้องมีองค์ประกอบ ๔ ประการ ดังนี้
๑. ไม่ผิดกฎหมาย
๒. ไม่ผิดประเพณี
๓. ไม่ผิดศีล
๔. ไม่ผิดธรรม

ประเภทของงานไม่มีโทษ
งานที่เราทำนั้นแบ่งได้เป็น ๒ ประการ คือ
๑. งานที่ทำเพื่อประโยชน์ตนเอง
๒. งานที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ผู้ที่ทำงานไม่มีโทษก็หมายถึง ผู้ที่ทำงานทั้ง ๒ ประการนี้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ตามองค์ประกอบทั้ง ๔ ประการ

#‪#‎งานที่ทำเพื่อประโยชน์ตนเอง‬##
คือการทำมาหาเลี้ยงชีพต่างๆ เช่น ทำนา ทำสวน ค้าขาย เป็นครู เป็นช่างไม้ ช่างยนต์ ฯลฯ ซึ่งในเรื่องการประกอบอาชีพนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า อาชีพต้องห้ามต่อไปนี้ พุทธศาสนิกชนไม่ควรทำ ได้แก่
๑. การค้าอาวุธ
๒. การค้ามนุษย์
๓. การค้ายาพิษ
๔. การค้ายาเสพติด
๕. การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า
ใครก็ตามที่ประกอบอาชีพ ๕ ประการข้างต้นนี้ ได้ชื่อว่าทำงานมีโทษ และก่อให้เกิดโทษแก่ตนเองมากมายสุดประมาณ แม้จะร่ำรวยเร็วก็ไม่คุ้มกับบาปกรรมที่ก่อไว้

#‪#‎งานที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม‬##
คือการทำงานสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือคนข้างเคียง และช่วยเหลืองานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น สร้างสะพาน ทำถนน สร้างศาลา ที่พักอาศัยข้างทาง ฯลฯ

ตัวอย่างการทำงานไม่มีโทษ
๑. การรักษาอุโบสถศีล
๒. การทำงานช่วยเหลือกันในทางที่ชอบ
๓. การสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม เช่น วัด เจดีย์ ฯลฯ
๔. การปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่คนเดินทาง
๕. การสร้างสะพาน เพื่อให้คนสัญจรไปมาได้สะดวก
๖. การสร้างประปา สร้างแหล่งน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำสะดวก
๗. การตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ เพื่อให้คนได้ใช้สะดวกสบาย
๘. การให้ที่อยู่อาศัยแก่บุคคล
๙. การตั้งอยู่ในบุญกุศล หรือตั้งอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
๑๐. การถึงพร้อมด้วยศีลและการเจริญสมาธิภาวนา

ไม่ผิดศีล ศีลเป็นพื้นฐานของการทำความดีทุกอย่าง แม้ในไตรสิกขา
ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาก็กล่าวไว้ว่า
ศีล เป็นพื้นฐานของสมาธิ
สมาธิ ทำให้เกิดปัญญา
ปัญญา เป็นเครื่องบรรลุนิพพาน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “เธอพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวเราเองตำหนิตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่ เธอพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า ผู้รู้ ใคร่ครวญแล้วติเตรียนเราโดยศีลได้หรือไม่”
(นัย อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร) องฺ. ทสก. ๒๔/๔๘/๙๒

“ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม ไม่ประมาท”
ขุ. ธ. ๒๕/๑๒/๑๘




"ร่างกายของคนเราไม่ใช่เครื่องจักร จักได้ใช้งานได้ทั้งวันทั้งคืน ไม่พักผ่อนเอาเสียบ้างเลยย่อมไม่ได้ ให้ดูตัวอย่างพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์สาวก ท่านยังหาโอกาสพักผ่อนให้กับร่างกาย เช่น เข้าสุขวิหารหรือเข้านิโรธสมาบัติ พละสมบัติ เป็นต้น ให้หามัชฌิมาปฏิปทา อย่าทำอะไรให้เกิดพอดี ร่างกายจักพังเร็ว โดยที่จิตใจไม่ก้าวไปถึงไหนเลย

ที่กล่าวมานี้มิใช่ไม่ให้ทำงาน ทุกชีวิตเกิดมามีร่างกาย ต้องทำงาน แต่พึงทำงานให้พอดีให้เหมาะสมกับเพศกับวัยและกับกำลังด้วย มิใช่ร่างกายไม่ดี ก็ยังดันทุรังทำไปเสียทุกอย่าง และอย่าเอาอดีตหรืออนาคตมาวัดกับปัจจุบัน ให้ทำปัจจุบันเท่านั้นให้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา การปฏิบัติธรรมก็เช่นกันให้มัชฌิมาปฏิปทาในปัจจุบัน ก็จักได้ผลพอดีเช่นกัน

การปฏิบัติธรรมจึงจำเป็นที่จักต้องรู้อารมณ์จิต รู้จริตที่เกิดขึ้น (จริตหก) และรู้กรรมฐานแก้จริตได้ถูกตรงตามจริตที่เกิดขึ้นด้วย จึงจักแก้ได้ ตามด้วยการพิจารณาขันธ์ ๕ ด้วยปัญญา จึงจักเรียกว่าเป็นธรรมปัจจุบัน แล้วอย่ามองภายนอกว่าใครหรืออะไร เป็นเหตุให้เรามีราคะ โทสะ โมหะ ให้มองธรรมภายในคือ จิตที่เสวยอารมณ์ของเราอยู่นี้เป็นหลักปฏิบัติในธรรมปัจจุบัน หรือหาทางสายกลาง (มัชฌิมา) นั่นแหละจึงจักพอดี"

จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม 12
โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี





ผู้ลิขิตกรรม

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวัน เมืองนาลันทา หัวหน้าหมู่บ้านชื่อ อสิพันธ์ ได้ไปเฝ้าและทูลถามปัญหาถึงคนที่ตายไปแล้วว่า...พระพุทธองค์สามารถทำให้คนเหล่านั้นไปเกิดในสวรรค์ทั้งหมดได้หรือไม่ พระพุทธองค์ทรงย้อนถามว่า...

"อสิพันธ์..! เราจะขอถามท่าน คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภมาก พยาบาท และเห็นผิด มหาชนได้ประชุมกันแล้ว สวดวิงวอนว่า....

ขอให้คนนี้เมื่อตายไปแล้ว จงไปเกิดในสวรรค์เถิด คนที่ไม่มีกุศลกรรมบถผู้นี้ เมื่อตายแล้วจะไปเกิดในสวรรค์ได้หรือไม่...?

ไม่ได้พระเจ้าข้า

อสิพันธ์...! เปรียบเหมือนคนโยนก้อนหินใหญ่ลงไปในแม่น้ำลึกแล้วมหาชนพากันสวดอ้อนวอน ขอให้ก้อนหินลอยขึ้นมา ก้อนหินจะลอยขึ้นมาตามเสียงสวดวิงวอนหรือไม่...?

ไม่ลอยขึ้นมา พระเจ้าข้า...

อสิพันธ์...! ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ใดไม่รักษากุศลกรรมบถ ๑๐ เมื่อตายไปย่อมต้องตกนรก เสียงอ้อนวอนของมหาชนก็ไม่อาจจะช่วยอะไรใครได้

เช่นเดียวกัน คนบางคนในโลกนี้ รักษากุศลกรรมบถ ๑๐ มีการไม่ฆ่าสัตว์ เป็นต้น เมื่อตายไปก็ย่อมไปเกิดในสวรรค์ แม้มหาชนจะพากันสวดอ้อนวอนให้ผู้ตายไ ปเกิดในนรก เขาก็ต้องไปเกิดในสวรรค์ตามกุศลกรรมของเขา เปรียบเหมือนคนเทน้ำมันลงไปในแม่น้ำ แม้มหาชนจะสวดอ้อนวอนให้น้ำมันจมลง น้ำมันย่อมจะลอยขึ้น ไม่จมลงใต้น้ำก็ฉันนั้น
......... ภูมกสูตร ๑๗/๓๔๒


ธรรมะโอสถแก้เหนื่อย.......
ยามเวลาเราเกิดความเหนื่อยกาย หรือเหนื่อยใจก็ตาม...ที่สำคัญเรามีต้องธรรมะโอสถในใจเราให้เป็น. โดยเฉพาะธรรมะโอสถ.ที่เป็นตัวความเพียรความอดทนและสติสัมปชัญญะสติปัญญา จี้ เข้าไปที่ความทุกข์ในความรู้สึกนึกคิดนั้น เป็นอารมณ์ๆๆ เมื่อเราทำได้ดังนั้น. ความทุกข์ในความรู้สึกนึกคิดนั้น. ก็จะสลายไปจากใจเราทันที......
........ สติปัญญานั้น จะคุ้มครองดูแลรักษาจิตใจ ให้ปราศจากความทุกข์ ปราศจากความคิด อันมืดมนทั้งหลายทั้งปวงนั้นได้เป็นอย่างดี. ส่วนเราเอาธรรมะข้อนั้นข้อนี้ในตำรามาคิด แค่บรรเทาทุกข์ได้ชั่วคราวเท่านั้น...ส่วนธรรมะในใจเรา. อันเนี่ยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด. มันก็แก้ความเหนื่อยใจเราได้. จิตใจมันก็จะไม่เหนื่อย หรือเมื่อเหนื่อยก็จะระงับความเหนื่อยใจได้
----------------------------
.... สำหรับเหนื่อยกาย.เราต้องรู้จักใช้ธรรมะโอสถ ที่เป็นตัวความอดทนความเพียร และ สติสัมปชัญญะเหมือนกัน. เจริญสติรับรู้อยู่กับร่างกาย ในท่านั่งขัดสมาธิ.พร้อมกับลมหายใจเข้าออก ให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน. และเป็นไปเพื่อสลายความคิดปรุงแต่งอารมณ์กิเลสออกไป...เน้นกำหนดสติสัมปชัญญะให้ต่อเนื่องเช่นนั้น. ก็จะก่อให้เกิดพลังสมาธิความสงบขึ้นมา. ก็จะระงับความเหนื่อยกายนั้นได้. เอวัง




** ดูกรท่านทั้งหลาย
** หยาดน้ำค้างตกลงบนยอดหญ้า
** เมื่อดววอาทิตย์สาดส่องลงมา
** น้ำค้างย่อมแห้งหายไปได้เร็ว
** ไม่ตั้งอยู่ได้นาน..แม้ฉันใด
** ชีวิตเราชีวิตท่านทั้งหลายก้อเหมือนกัน
** เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง
** ฉันใดก้อฉันนั้นเหมือนกัน
** เพราะฉะนั้นอย่าประมาทในการดำเนินชีวิต
** ทำผิดไปนิดชีวิตไม่หวนกลับมา
ตอบกระทู้