Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

หลงขันธ์

อังคาร 05 เม.ย. 2016 7:31 pm

อาศัย “ซากศพ” เกาะข้ามแม่น้ำ
ถ้าหากไม่มีซากศพ เราจะข้ามไปโดยกำลังของตัว ก็กลัวจะข้ามไม่ได้ ก็อาศัย "เกาะซากศพเน่า" ไปอย่างนั้นแหละ พอไปถึงฝั่งเมื่อใด จะทิ้งเมื่อนั้น เพราะซากศพเป็นของ "ปฏิกูล" อาศัย"ซากศพ" สร้างคุณงามความดีเท่านั้น มิใช่เราจะมา "หลงธาตุ หลงขันธ์ "
เราข้ามน้ำถึงฝั่งเมื่อใด จึงปล่อยเรือ ไปแต่ตัวของเรา เมื่อใด "จิตใจ" ของเรา "หลุดพ้น" ไปจาก “สมมุติ” เป็นอันหมดจบใน "ความอยาก" ทั่วไป ได้ชื่อว่าเรา "ปล่อยเรือ" เอาไว้อะไร ที่เราเห็นชัดเจนแล้ว ต้องหายสงสัย ไม่มีการสงสัยอีก
การเกิดอีก จะเป็นกี่ภพกี่ชาติก็ตาม ถ้าหากเป็นธาตุ เป็นขันธ์ จะต้องนำทุกข์มาให้ “รู้ธาตุขันธ์ของตน ก็ไม่หลงธาตุขันธ์ของบุคคลอื่น”
ให้ “ใจ”... หลุดพ้นในชาตินี้ จะไม่ยอมเกิดอีกตายอีก

พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
วัดป่าแก้วบ้านชุมพล อ. สว่างแดนดิน จ.สกลนคร






“เวทนา” ไม่สู้ ไม่เห็น “ธรรม”
จะทำให้ “จิต” เห็น “ธรรม” ง่าย ถ้าหากจะสู้กันจริง ๆ จัง ๆ เชื่อมั่นว่าคนนั้นไม่ถึง 7 วันจะต้องเห็นในจิตในใจของตน
คือ เราสู้ เอาชีวิตเป็นประกัน มันจะปวดขนาดไหนก็ปวดไป จะไม่ยอมขยับเขยื้อน เรานั่งอยู่ขาใด มือใด ท่าใด เราจะนั่งอยู่อย่างนั้น ถ้าหากความอัศจรรย์อะไรไม่เกิดขึ้น เวลามันไม่เกิดเวทนา ทุกขเวทนานั้น จิตใจเพลิดเพลินคิดปรุงไปเรื่องอื่นได้ แต่เวลามันจวนจะตายจริง ๆ มันเจ็บ มันปวดนั้น “เวทนาใหญ่” เกิดขึ้น
ลองมาไล่มันไปเถอะ อะไรควรกำหนัดยินดี น่าเพลิดน่าเพลิน จะให้ไปคิด นู้น อย่ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องของเวทนาเรื่องของกาย
มันไล่ไม่ไป มันกลัวตาย ที่นี้ก็จะแตก ที่นี้ก็จะหัก ที่นั้นก็เจ็บ ที่นี้ก็ปวด มันจะพังจริง ๆ จัง ๆ มันมีแต่อยากจะลุกจะหนี มันเจ็บปวดรวดร้าวอย่างที่บอกไม่ถูก เหมือนนั่งอยู่ในกองไฟ หรือเหมือนเอาหลาวทิ่มขึ้นไปบนอากาศ แล้วนั่งอยู่บนปลายแหลน ปลายหลาว
มันไม่มีที่ไหน ที่มันสุขมันสบายให้ ระยะนั้นแหละ ไล่มันไปไม่ได้
ถ้าหาก “จิตไม่รวมให้ใจไม่เป็นธรรม” มันก็ทำท่าจะตายถ่ายเดียว คนที่ใจไม่เด็ด ไม่ยอมเสียสละชีวิตมันก็อยู่ไม่ได้ จะต้องลุกต้องหนี ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ
“อิริยาบถนี้ ปิดบังทุกข์” เอาไว้ ไม่ให้เราเห็นชัดเจน ถ้าเราสู้ทนเอา เรานั่งก็ท่านี้แหละ เป็นท่าสุข ท่าสบาย ว่าเป็นสุขแล้ว
การนั่งของเรา ครั้นนั่งไป ๆ ความเจ็บปวดมันเกิดขึ้น นั่นแหละจะได้พิจารณาเรื่องของมัน มันมาจากที่ไหน มีอะไรอยู่ในตัวของตัว มันจึงเกิดขึ้นอย่างนั้น เนื้อหนังก็ของเก่า แข้งขาก็ของเก่า หรือใครเขาเอามาให้ นี่...มันจะทราบเรื่องของเวทนาว่า
เวทนานั้น "สักแต่ว่าเวทนา" ไม่ใช่ "จิต" เพราะเราได้สู้ได้พิจารณาดูตามเป็นจริงของมัน
กายนี้ มันไม่ทราบอะไร ตายเอาไปเผาไฟ ฝังดิน มันก็ไม่เห็นบ่น อันนี้มันเกิดขึ้นมาจากที่ไหน กระดูกของเก่า เนื้อหนังของเก่า ทำไมมันถึงเป็นอย่างนี้
พิจารณา ถ้าหากจิตไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริงเมื่อไร ตายก็ให้มันตายไป ให้เขาได้ลงหนังสือพิมพ์ออกอากาศว่า คนนั้น "ภาวนาจนตาย"
ปล่อยให้มันเห็นกัน ถ้าหากมันไม่ตาย สิ่งที่เหนือตายคืออะไร เราจะทราบ สิ่งใดมันตายไป ก็ให้มันตายไป สิ่งใดที่มันเหลืออยู่ เราจะเอาอันนั้นแหละเป็นตัวของเรา เป็นของของเรา นี่...
"นักสู้" ต้องสู้แบบนั้น เวลาต่อสู้กันจริงจัง
ระยะนั้น และ "ธรรมอัศจรรย์" จะเกิดขึ้น ถ้าเราต่อสู้ได้ เราจะทราบเรื่องของ "จิต" ของ "ใจ" ว่าเป็นอย่างไร ความอัศจรรย์ที่ไม่เคยเห็น เคยเป็นมาก่อน มันปรากฏขึ้น มีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสว่างไสวโล่งอกโล่งใจ เมื่อเวลามันจะตายจริงจังมันก็แบบนี้แหละ
ถ้าเราสู้มันได้ เราเข้าใจตามเป็นจริง เวทนาหน้าไหน มันจะเกิดขึ้นเมื่อไร จิตใจของเราจะลุ่มหลงอีกหรือไม่ เราทราบจากการกระทำของตัว
ฉะนั้น การสู้ การทำแบบนั้น มันจึงเป็นเรื่องของทุกท่าน ที่มุ่งมั่นเพื่อจะปฏิบัติให้พ้นโลก จะต้องทดสอบกระทำบำเพ็ญ


พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
วัดป่าแก้วบ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร..



“ทุกข์ หมดไป ไม่เป็น"....“ทุกข์” ควร “กำหนดรู้” “ไม่ใช่” “ปฏิบัติ” แล้ว “หมดทุกข์”

“ทุกข์” หมดไป “ไม่เป็น

เมื่อ “กาย” กับ “จิต” ยัง “อาศัย” กัน ทุกข์ของ “ขันธ์” ยังมีตลอดเวลา

แต่จิตที่จะไป ติดข้องที่จะไปยึดถือ ไปลุ่มหลง ว่าทุกข์ให้โทษแก่เราอย่างนั้นอย่างนี้ ควรจะให้มันหายออกไป ไม่ควรจะมาบีบบังคับกายใจเรา

ถ้าคิดไปอย่างนั้น คิดไปเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มเติมขึ้น เพราะสิ่งนั้น มันเป็น “ของจริง” ของมัน จะขับไล่มันไปที่ไหน มันไปไม่ได้ “ให้กำหนดรู้ตามจริง” ของมัน ว่า “นี่คือทุกข์”

แต่

ผู้ที่ไป “รู้ทุกข์” เป็น “ทุกข์” หรือไม่ นั่นแหละ เป็นเรื่องที่ “ควรกำจัด” เป็นเรื่องที่ควร “ปฏิบัติ” เพื่อ “ทราบตามความเป็นจริง”

“ทุกข์” คือ “เวทนา” ตัวหนึ่ง

“จิต” ผู้มา “รู้” ก็เป็นอีกอันหนึ่ง ไม่ใช่เวทนา ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป

ความรู้นี้ จะเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เฉยๆก็ตาม

“จิต” มัน “รู้” ตื่นอยู่ หลับอยู่ มันก็ “รู้” นี่คือเรื่องของ “จิต”


พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
วัดป่าแก้วบ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร





โอวาทธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
"ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงควรเห็นคุณค่าของผู้อื่น ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศิลสัตย์ เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศึลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมสั่งสอนแล้ว ควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคงจะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน"




" .. จะปฏิบัติธรรมอย่างไร ?
คนเราไม่รู้จัก นึกว่าการเดินจงกรม นึกว่าการฟังธรรม
นึกว่าการนั่งสมาธิเป็นการปฏิบัติ นั่นเป็นส่วนน้อย
ก็จริงอยู่ แต่มันเป็นเปลือกของมัน
การปฏิบัติจริง ๆ ก็ปฏิบัติเมื่อประสบอารมณ์ นั่นแหละการปฏิบัติ
แล้วที่มันประสบอารมณ์กับอยู่นั้น เช่นมีอะไร
มีคนมาพูดไม่ถูกใจนะ เราเป็นทุกข์ขึ้นมา
ถ้าคนพูดให้ถูกใจเรา เราก็เป็นสุข ตรงนี้แหละตรงที่จะปฏิบัติ
เราจะปฏิบัติอย่างไร อันนี้สำคัญ
ถ้าเราไปวิ่งกับสุข ไปวิ่งกับทุกข์ มัวไปวิ่งกับสุข
ไปวิ่งกับทุกข์อยู่นั่น จะวิ่งตลอดจนถึงวันตายก็ไม่พบธรรมะ
นี่ ก็อยู่ไม่ได้ เมื่อรู้จักสุขทุกข์ทั้งสองนี้ขึ้นมาเมื่อไร
เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไรโดยธรรมะ นี่คือการปฏิบัติ.. "

หลวงปู่ชา สุภัทโท




"บุคคลไม่ควรเศร้าโศกอาลัยอาวรณ์
ถึงสิ่งนอกกายทั้งหลายที่มันผ่านพ้นไปแล้ว มันหมดไปแล้ว
เพราะสิ่งเหล่านั้นมันได้ทำหน้าที่ของมัน
อย่างถูกต้องโดยสมบูรณ์ที่สุดแล้ว"

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล





"ความรัก ความชัง ความเกลียด ความโกรธเป็นของปลอมทั้งนั้น ซึ่งแทรกอยู่ภายในจิต ไม่ใช่เป็นของจริงของแท้ จึงชำระออกได้ แต่มันทำสัตว์โลกให้ได้รับความทุกข์ความลำบากเป็นประจำ
ความรักก็ดี ความชังก็ดี ความเกลียดก็ดี ความโกรธก็ดี มีแต่สิ่งนำความทุกข์มาให้ด้วยกันทั้งนั้น พลิกขณะหนึ่งก็เป็นอย่างหนึ่ง พลิกขณะหนึ่งก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ตลบตะแลงไปได้ร้อยสันพันนัยของกิเลส ไม่มีอะไรจะแหลมคมยิ่งกว่ากิเลส ถ้าไม่ใช้สติปัญญาให้แหลมคมกว่ามันก็ไม่มีทางแก้มันได้ ฉะนั้นจงผลิตสติธรรมปัญญาธรรมให้เพียงพอ และฟัดกันลงตรงนี้"

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน





" พุทโธเป็นอย่างไร "

หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพฯ เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑ ในช่วงสนทนาธรรม ญาติโยมสงสัยว่า พุทโธเป็นอย่างไร หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า

เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียนกับตำรับตำราหรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วก็ภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานั่นแหละ จิตของเราสงบเราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง ความรู้อะไรๆ ให้มันออกจากจิตของเรา

ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ พุทโธอยู่นั่นแหละ แล้วพุทโธนั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า

พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร แล้วรู้เอง..... เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมาย

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล





พระปลัดบัวผัน กิตติสาโร วัดทางโค้ง ต.โคคลาน อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว จากรายการเสียงธรรมจากวัดทางโค้ง แจ้งรายการงานบุญในรายการวันนี้ดังนี้
1. เจ้าภาพข้าวสาร และน้ำดื่ม เพื่อการจัดภัตตาหารถวายสามเณรที่มาบรรพชาภาคฤดูร้อน
1.1 เจ้าภาพน้ำดื่ม จำนวน 50 โหล โหลละ 50 บาท
1.2 เจ้าภาพข้าวสาร จำนวน 3 กระสอบ กระสอบละ 1,800 บาท
2. เจ้าภาพท่อประปาเหล็ก เพื่อทดแทนท่อพีวีซีเดิมที่ฝั่งอยู่ใต้ดินแล้วชำรุด งบประมาณ 40,000 บาท ร่วมบุญสามัคคี ทุนละ 1,000 บาท
ร่วมบุญกับ พระปลัดบัวผัน กิตติสาโร
โทร 088-545-6880 , 090-561-3637




ขอเชิญร่วมบุญบูรณะศาลาการเปรียญ วัดใหม่บำรุงธรรม
หมู่ 7 ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี




ขอเชิญร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี
เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาธรรมสังเวชและกำแพงวัด ทอดถวาย ณ วัดบ้านดอนหวาย ตำบลดินดำ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
ตอบกระทู้