"ทาน อานิสงส์ของทาน" " .. คำว่าทานการเสียสละ แบ่งปันทรัพย์สมบัติ เงินทอง เรี่ยวแรง วิชาความรู้ ตลอดอุบายและความคิดเห็น ต่าง ๆ ต่อกัน นี่เป็นเรื่องที่ประทับใจแก่ผู้ได้รับอย่างจับใจซาบซึ่งและสนิทใจ ไม่มีวันหลงลืมตลอดกาล แลยังเป็น เครื่องหมายที่หวังฝากชีวิตจิตใจ ฝากเป็นฝากตาย ด้วยความเชื่อถืออย่างฝังใจอีกด้วย อานิสงส์ของกุศลบุญทานนี้ จะช่วยประคองสภาพชีวิตในปัจจุบันควบคู่ไปกับศีลธรรมไปรอเจ้าของอยู่เมื่อ สิ้นชีวิตไปแล้วและจะพาไปเกิดในระดับครอบครัวที่มีฐานะโดยประมาณที่ทำไว้ ..
...ใจจะสบายก็ต้องมีสติ หรือมีปัญญา ทำใจให้นิ่ง ให้เป็นกลางให้สงบ ...ดังนั้นวิธีที่จะ..ทำให้นิ่ง. ก็คือ ต้องมีสติ ต้องมีพุธโธ พุทโธอยู่เรื่อยเรื่อย ...อย่าปล่อยให้มันคิด ถ้ามันคิดแล้ว เดี๋ยวมันก็จะ คิดไปทาง..ความรัก ความชัง แล้วก็ "เกิดความอยาก" ตามมา คัดลอกการแสดงธรรม ธรรมะบนเขา 30 /10/2557 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
"..พระบรมศาสดาทรงพระชนมายุอยู่ เทศน์อนิจจัง ทุกขัง อนัตตามากกว่าเพื่อน เพราะเป็นนิยยานิกธรรม นำสัตว์ทั้งหลายให้เบื่อหน่ายคลายเมาในวัฏสงสาร ธรรมอันอื่นมีดาษดื่นถมเถ เป็นจินตกวีก็ตาม ถ้าไม่สลดใจสังเวชในวัฏสงสารแล้ว ก็สู้ภาษิตเดียวไม่ได้ ขณะจิตใจยินดีในโลกสงสารล้านๆ ขณะจิต ก็ไม่เท่าขณะจิตใจที่นึกเบื่อหน่ายคลายเมาในวัฏสงสารขณะจิตเดียว เจตนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พรหมสมบัติ ล้านๆขณะเจตนา ล้านๆขณะจิต ล้านๆขณะอธิษฐาน ล้านๆขณะความหวัง ก็ไม่เท่าเจตนาเพื่อพ้นทุกข์ในวัฏสงสารโดยด่วนในปัจจุบันจิต ปัจจุบันธรรมเลย.."
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
# ธรรมะจากพระอาจารย์ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) # วิธีผ่าตัดลูกศรแห่งความทุกข์ # ทำไมเราจึงปล่อยชีวิตของเราเหมือนกับคนที่ “ตายทั้งเป็น”...? คุณต้องยอมรับความจริง แม้ว่าความจริงนั้นจะเจ็บปวดเพียงใดก็ตาม เพราะมันก็เป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว หากเราไม่ยอมรับ ความทุกข์ ความเจ็บปวดก็จะยังคงอยู่ แต่เมื่อเราบอกตัวเองว่า ถึงอย่างไรมันก็เกิดขึ้นแล้ว และมันก็ “ผ่านไปแล้ว” จิตใจจะเปลี่ยนคุณภาพใหม่ นั่นก็คือการ “ยอมรับได้” เมื่อจิตเกิดการ “ยอมรับได้” ก็จะ “ปล่อยลง ปลงได้” แต่ถ้าเราไม่ยอมรับความจริง จิตก็จะยังคงอึดอัดขัดข้องอยู่อย่างนั้นสภาพของจิตของคุณจะไม่ต่างจากการโยนลูกเหล็กกลมๆ ลงไปในรูเหลี่ยม ที่เมื่อเหล็กกลมเข้าไปอยู่ในรูเหลี่ยมแล้ว ก็เลื่อนลงไปข้างล่างไม่ได้ จะดึงออกมาก็ยากลำบาก อาการอย่างนี้เขาเรียกว่า “ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก” ชีวิตคนเรานั้นตกอยู่ในสัจธรรมของชีวิต 5 ประการ คือ 1. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความแก่ไปได้ 2. เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความเจ็บไปได้ 3. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความตายไปได้ 4. เรามีความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นจากความพลัดพรากไปได้ 5. เรามีกรรมเป็นสมบัติของตน เราทำกรรมใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม ก็ต้องยอมรับผลของกรรมนั้นด้วยตัวเอง พระพุทธองค์ตรัสว่า ความทุกข์ที่เกิดจากคนอื่นสร้างให้นั้นเป็นเหมือนลูกศรดอกที่หนึ่งที่เขามาปักอกเรา ทางที่ถูก เราควรถอนลูกศรนั้นออกให้เร็วที่สุด ถ้าเราไม่ทำเช่นนั้น เอาแต่ทุกข์ไม่จบไม่สิ้น ก็เท่ากับว่าเรากำลังสร้างลูกศรดอกที่สองขึ้นมา และทิ่มมันใส่หน้าอกซ้ำสองด้วยมือของตัวเอง การกระทำเช่นนี้ไม่ฉลาดเลย คุณควรถอนลูกศรดอกแรกและควรผ่าตัดเอาลูกศรดอกที่สองออกจากอกของตัวเองด้วย จึงจะถูก เราต้องยอมรับความจริง ถือเสียว่า“สุดมือสอยก็ปล่อยมันไป” การฝึกเจริญสติจะทำให้หลุดออกมาจากโลกของความคิดและเป็นอิสระจากความทุกข์ได้ในที่สุด อย่าลืมว่าความทุกข์เกิดขึ้นและมันก็ดับลงแล้ว เหลือแต่คุณเองที่ยัง “รั้ง” ความทุกข์นั้นไว้ในใจของตัวเองอยู่
|