หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ.. การภาวนาก็คือ การมีสติสัมปชัญญะ คอยตักเตือนตนเองอยู่เสมอ ไม่ให้เกิดความประมาท ความมัวเมา มีอินทรียสังวรละเว้นบาป อกุศลแม้เพียงน้อย จำต้องอาศัยความหมั่น ความพยายามทางกาย ทางวาจา ทางใจของตน จึงจะรักษาตนให้รอดปลอดภัย
...หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ..ถึงจิตไม่สงบ ก็ไม่ควรปล่อยให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกําหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ ได้เช่นเดียวกัน"
"ผู้รู้" ผู้รู้เท่าเอาทัน คือไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
"รู้อะไรขึ้นมาก็เฉย" รู้อะไรขึ้นมาก็เฉย เพราะมันเป็นภูมิปัญญาของจิตที่ฝึกอบรมอยู่แล้ว จิตจึงไม่หวั่นไหว ไม่ติดในสิ่งเหล่านั้น
ในขณะนั้น "เป็นจิตที่บริสุทธิ์สะอาด" ไม่มีตัณหา ไม่มีกิเลส ไม่มีอุปาทาน
จิตจึงมีปรากฏการณ์อย่างนั้น ถ้าหากว่าจิตของท่านผู้ใดเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดกาลไม่ผันแปร ก็ได้ชื่อว่าเป็น "พระอรหันต์"
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา
ถ้า "ภูมิจิตภูมิธรรม"เป็นแต่เพียง"สิ่งใดสิ่งหนึ่ง"ปรากฏ"ให้รู้อยู่ตลอดเวลา
"ไม่มีสิ่ง" ที่เราจะไป "สมมติบัญญัติ" "จิตนิ่งเด่น" อยู่เฉย ๆ "ภูมิความรู้" เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ
"จิต" ตัวที่ "นิ่งเด่น" อยู่นั้น" คือ "พุทธะ"
"ผู้รู้" ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้อะไรขึ้นมาก็ "เฉย" รู้อะไรขึ้นมาก็ "เฉย" เพราะมันเป็น "ภูมิปัญญา" ของ "จิต" ที่ฝึกอบรมอยู่แล้ว
"จิต" จึง "ไม่หวั่นไหว" "ไม่ติด" ในสิ่งเหล่านั้น เป็นจิตที่บริสุทธิ์สะอาด ไม่มีตัณหา ไม่มีกิเลส ไม่มีอุปาทาน
แม้ "ออกมา" จากการนั่งหลับตาสมาธิแล้ว
"สมาธิ" ก็ยังมีปรากฏอยู่ตลอดเวลา จึงดู คล้ายกับ "จิตมีความสงบอยู่" ตลอดเวลา ส่วนที่ "สงบ" ก็ปรากฏอยู่ ส่วนที่ออกมา "บงการ" ทำงานก็มีปรากฏอยู่
"จิต" จึงมี "ปรากฏการณ์อย่างนั้น" ถ้าหากว่าจิตของท่านผู้ใดเป็นอยู่อย่างนี้ "ตลอดกาล" ไม่ผันแปร ก็ได้ชื่อว่าเป็น "พระอรหันต์"
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา
ผู้สำเร็จ"ฌาน"แล้วจะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดเพราะ "จิตไม่มีปัญญา"
ลักษณะของการรู้จริง เห็นจริง ที่เรียกว่า"อภิญญา" "รู้ใจคนอื่น" "รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า" "รู้เรื่องในอดีต" ที่ล่วงมาแล้วนาน ๆ
เป็นลักษณะอย่างนี้ ไม่ได้จัดเข้าในลักษณะของ "ปัญญา" ที่จะเอาตัวรอดจากอำนาจของกิเลส
เพราะฉะนั้น "สมาธิในฌาน" จึงเป็น "สมาธิ" ที่ไม่สามารถที่จะทำผู้ปฏิบัติให้สำเร็จมรรคผลนิพพานได้ ถึงจะมีบ้างก็มีจำนวนน้อย
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
"ปัจจุบันธรรม" เป็น "สมุทัย" และ "ตัณหา" อันละเอียดมาก
ท่านผู้ถึง "อรหัตผล" แล้วมิได้ติดข้องอยู่ใน อดีต อนาคต หรือ ปัจจุบัน อะไร ๆ ใด ๆ ทั้งสิ้น
ถ้าหากว่าติดอยู่เงื่อนใดเงื่อนหนึ่งแห่งปัจจุบันแล้ว "วิญญาณปฏิสนธิ" ก็มีเกิด มีตายอยู่ในปัจจุบันจิต ปัจจุบันธรรมนั้นเอง
ความทะเยอทะยานในปัจจุบันจิต ปัจจุบันธรรม เป็นสมุทัย และตัณหา อันละเอียดมาก
เมื่อเป็น "ตัณหามันละเอียด" ก็เป็น อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ อันละเอียด "อยู่ในตัว" ด้วยไม่ต้องจำกล่าวไปใยก็ได้
เหตุไฉนจึงติดอยู่ในปัจจุบัน จนลืมตัว จน "สำคัญตน" ว่า "ตนพ้น" ไปแล้วโดยสิ้นเชิง
เพราะเหตุว่าสำคัญ "ตนเป็นปัจจุบัน" และ สำคัญ "ปัจจุบันว่าเป็นตน" สำคัญว่า "ผู้อื่นเป็นปัจจุบัน" สำคัญว่า "ปัจจุบันเป็นผู้อื่น"
เมื่อสำคัญว่าตนมีอยู่ในปัจจุบัน สำคัญว่าปัจจุบันมีอยู่ในตน แล้วจะไม่หลงไปยึดถืออดีต อนาคตว่า เป็นตัวตน เรา เขา สัตว์ บุคคล นั้นเป็นไม่มีเลย
เป็นเพียง "สติปัญญาไม่กล้า" แล้วก็ "เข้าใจผิด" ฟิตตัวขึ้นว่า "ละได้แล้ว"
เรื่องอดีต อนาคต ความสำคัญตัว ย่อมเป็นรากเหง้า ของกิเลสอยู่โดยตรงๆ แล้ว จะปฏิเสธไปไหน ก็ไม่รอดได้เลย
อดีต อนาคต ปัจจุบัน ก็คล้าย ๆ กับปลาตัวเดียวกัน แต่หัวและหางไม่กิน เพราะไม่อร่อย แต่เป็นยาเสพติด มากินพุงของมัน ที่ตรงกลางตัวแล้วจะยืนยันว่า เราไม่กินปลาตัวนั้นดอก
ดังนี้ ก็ไม่พ้นตกอยู่แบบฉลาด แต่แกมโกงซึ่ง ๆ หน้า
ท่านผู้ทรงคุณปัญญาคมคายชำแรกกิเลส ย่อมรู้ได้ไม่ต้องดำดิน บินบน เหมือนนกและปลาไหล ก็รู้ได้ไม่ค่อยผิด
"ปัญญา" ย่อมเป็นนายหน้าของ "ธรรม" ทุกประเภท ทั้งที่เป็น "โลกิยะ" และ "โลกุตระ" ทางโลกีย์หยาบ ๆ
ทางพุทธศาสนาว่า บัณฑิต ปัณฑิตา ปรินายกา บัณฑิตเท่านั้นจึงควรเป็นหัวหน้าของกาย วาจา
คือ "ใจ" ที่ประกอบด้วย "ปัญญา"
นัตถิพาลา ปรินายกา คนพาลมิควรเป็นหัวหน้า ใจที่เป็นพาลไม่ควรเป็นหัวหน้าของกาย วาจา
น้อมเข้ามาในฝ่ายปฏิบัติทางธรรมปรมัตถ์ เพื่อให้รู้ชัดปฏิบัติสะดวก เป็นโอปนยิโก ไม่ส่งส่ายหนีหลักเดิม
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี(ภูจ้อก้อ)บ้านแวง อ.หนองสูงใต้ จ.มุกดาหาร
|