นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 4:44 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ลักษณะของจิตรวม
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 14 ก.ค. 2016 4:28 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
จิตใจนี้แก่ไม่เป็น เฒ่าไม่เป็น
จิตใจดวงนี้ตายไม่เป็น สลายไม่เป็น
พี่น้องญาติโยมพี่น้องลูกหลาน
ภพหน้าชาติหน้าต้องเกิดอีกแน่นอน
ที่พวกเราเห็นคนนั้นตาย คนนี้ตาย
แท้ที่จริงจิตใจเขาไม่ได้ตายนะ
จิตใจเขาออกจากร่างเฉยๆนะ
_______________
หลวงปู่อุทัย สิริธโร
วัดเขาใหญ่เจริญธรรม ญาณสัมปันโน
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา






ลักษณะของจิตรวม

"...เมื่อจิตรวมจะเกิดอาการต่างๆ เช่นมีความรู้สึกว่าเบามือทั้งสองข้าง ซาบซ่านตามร่างกาย ขนลุกขนพองคล้ายกับไปพบกับสิ่งที่น่ากลัว มีอาการตัวเบาหวิว บางคนเมื่อรู้ว่าจิตเริ่มจะรวม จึงคอยดูว่า จิตจะรวมอย่างไร จิตก็รวมไม่ได้ สมาธิก็ไม่เกิด อันนี้เป็นการกระทำที่ผิด

เมื่อเรารู้ว่าจิตของเรากำลังจะรวม ให้เรา กำหนดดูผู้รู้นิ่งอยู่ สติกับใจอย่าให้เคลื่อนจากกัน อย่าให้สติเคลื่อนไหวไปตามอาการใดๆ เมื่อสติไม่เคลื่อนไปตามอาการใดๆแล้ว จิตก็รวมเอง บางครั้งก็รวมสนิทเลย เปรียบเหมือนเอาไม้ปักลงในน้ำที่ไหลเชี่ยว ปักให้นิ่งไว้อย่าให้เคลื่อนไปตามน้ำ อย่าให้จิตเคลื่อนจากผู้รู้

ผู้ที่สามารถทำจิตรวมได้แล้ว ก็ให้กำหนดจิตตามเดิม กำหนดอย่างใดที่ทำให้จิตรวมได้ก็ให้กำหนดอย่างนั้น

ถ้าจิตรวมสนิทก็อย่าเพิ่งออกจากสมาธิเสียทีเดียว ก่อนออกจากสมาธิให้พิจารณาเสียก่อน เราจะได้ทราบว่าเราบริกรรมอย่างใด ตั้งสติอย่างใด ละวางอารมณ์สัญญาอย่างใด จิตของเราจึงรวมได้เช่นนี้ ถ้าเราสามารถพิจารณาถึงกรรมวิธีต่างๆได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติครั้งต่อไป

ขอย้ำอีกครั้งกำหนดให้แน่วแน่ นิ่งอยู่กับผู้รู้ สติกับผู้รู้อย่าให้เคลื่อน ไปตามกิริยาอาการใดๆ จิตก็จะรวมลงได้ก็เพราะสติ อย่างเดียวเท่านั้น

พูดตามปริยัติ สติ แปลว่า ความระลึกได้ในกิจที่ได้กระทำแม้คำพูด ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ในทางปฏิบัติ สติ แปลว่า ระลึกอยู่ที่ใจ ไม่ให้รู้ไปตามสิ่งอื่น ถึงจะมีสัญญาอะไรก็ไม่ให้เคลื่อนไหวไปตามอาการนั้น กำหนดรู้นิ่งไว้อย่างนั้น ระลึกอยู่ที่ใจ

ใจ ก็หมายถึงผู้รู้ เมื่อสติกับใจบังคับกันแนบนิ่งดีแล้ว จิตก็จะรวมสนิท

เมื่อเรานั่งกำหนดแล้ว ขณะที่เรารู้สึกเบาเนื้อเบากาย ก็ให้เรานิ่งไว้อยู่กับ ผู้ รู้ คำบริกรรมต่างๆ ก็ให้เลิกบริกรรม ให้เอาแต่สตินิ่งไว้ ให้ระลึกแต่ผู้รู้เท่านั้น

ตามธรรมดาสติมักจะส่งไปนอก ชอบเล่นอารมณ์ สังขารที่ปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นคิดดี คิดร้าย ไม่ร้าย เราจะต้องพยายามฝึกหัดละวาง อารมณ์ เหล่านี้ อย่าให้จิตส่งออกไปภายนอก ให้สติอยู่ที่ผู้รู้เท่านั้น

เมื่อเรานั่งสมาธิภาวนา เรากำหนดคำบริกรรมใดๆ ก็ตาม ถ้าเราเผลอจากคำบริกรรมนั้น เมื่อเรารู้สึกว่าเราเผลอไปรับรู้อารมณ์ภายนอก ก็ให้เรารีบกลับมาบริกรรมอย่างเดิมตามที่เราเคยปฏิบัติมาได้

จิตจะรวมได้หรือสมาธิจะเกิดนั้นจะต้องปราบนิวรณธรรมทั้ง ๕ เสียก่อน คือ

๑. กามฉันท์ ความยินดีพอใจในความสุข

๒. พยาบาท ความอาฆาต ความโกรธ

๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน

๔. อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญ ความสงสัย

๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในเรื่องบาปเรื่องบุญ

ดังได้แสดงมาก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา เอวัง..."

เทศนาธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่คำดี ปภาโส







ธรรมะก่อนนิทรา : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
คืนที่ ๙๙๔ อารักขกรรมฐาน : สรุป (จบ)

ทั้ง ๔ ข้อนี้ คือ ๑ พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ๒ เมตตา แผ่เมตตาจิตออกไป ๓ อสุภะ พิจาณากายนี้ว่าเป็นของที่ไม่งดงามไม่สะอาด และ มรณสติ ระลึกถึงความตาย เป็นอารักขกรรมฐาน คือกรรมฐานที่ควรรักษาไว้เนืองนิจ ปฏิบัติอบรมอยู่เนืองๆ หัดระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าอยู่เนืองๆ หัดแผ่เมตตาอยู่เนืองๆ หัดพิจารณากายนี้ว่าเป็นของไม่งดงามไม่สะอาดอยู่เนืองๆ ระลึกถึงความตายอยู่เนืองๆ

เมื่อเป็นดั่งนี้จะเป็นเครื่องป้องกันอารมณ์และกิเลสร้ายทั้งหลายได้ แม้ว่าจะเกิดอารมณ์กิเลสขึ้นตามธรรมดาของสามัญชน ก็สามารถจะใช้อารักขกรรมฐานนี้ระงับได้ เมื่ออารมณ์และกิเลสบังเกิดขึ้น ก็ระลึกถึงกรรมฐานทั้ง ๔ ข้อนี้ทันที ข้อใดข้อหนึ่ง ก็จะทำให้ระงับใจได้ ทำให้จิตใจได้ความสงบได้ความสุข ตลอดจนถึงได้สมาธิตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูง เป็นบาทของปัญญาที่จะเห็นธรรมะยิ่งขึ้นต่อไป







"การล้างบาปในพระพุทธศาสนา...ไม่มี"

จะทำบุญแก้บาปไม่ได้เพราะมันเป็นเงินคนละกระเป๋า สมมติว่าใจของเรานี้เปรียบเหมือนคลัง บาปบุญนี้เปรียบเหมือนสมบัติที่มีอยู่ในคลัง คราวใดเราเอาบาปออกมาค้า ผลกำไรก็ไปบวกบาปอยู่ที่ใจ

เหตุนั้น การล้างบาปในพระพุทธศาสนาจึงไม่มี แต่เมื่อสร้างบารมีไปมากแล้ว บาปก็เว้นพอแล้ว บุญก็สร้างพอแล้ว จึงจะทรงเหนือบาปและบุญไปได้ ยกตัวอย่างเช่นพระอรหันต์ กรรมเก่าตามมาถึงก็มาเจอแต่เรือนร้าง คือ สกลขันธ์ คือรูปนาม แต่มันไม่ถึงธรรมะของพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์พ้นจากกองนามรูปไปแล้ว

แต่พวกเราที่ยังมีกิเลสหนา เมื่อผลของกรรมตามมาหา มันก็ได้ทั้งหนังทั้งเขา เพราะเรายังไม่พ้นจากกิเลส เหตุนั้นเราจึงไม่ควรทำในมหันตโทษ โทษฆ่ามนุษย์เป็นมหันตโทษไม่มีศาลอุทธรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น

คดีดำคดีแดงในโรงในศาลมันหมดเป็น ส่วนกรรมและผลของกรรมที่ทำไว้แต่ละท่านละคน มันไม่จบเกษียณเป็นเลย มันตามไปจนถึงชาติเข้าสู่พระนิพพานดังกล่าวแล้วนั้น

"พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต"
วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) จ.มุกดาหาร


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 71 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO