สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
ทุกคนแม้ว่าจะได้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ก็ตาม หรือเข้าบวชเป็นภิกษุสามเณรก็เป็นอันว่าได้สมาทานศีล ๒๒๗ หรือศีล ๑๐ ก็ตาม แต่ว่าเมื่อปฏิบัติก็ให้ทำศีลทั้งปวงที่สมาทานนั้นมาประมวลเข้าในศีลที่ได้จากสรณะนี้ คือความเป็นปรกติ สงบ หรือสงบเป็นปรกติกายวาจาใจ อันสืบเนื่องมาจากถึงสรณะ เป็นศีลที่ได้จากสรณะนี้ด้วย และรักษาศีลอันเป็นตัวศีลดังกล่าวนี้ไว้
ตัวศีลดังกล่าวนี้ไม่มีว่าห้าข้อสิบข้อ หรือกี่ข้อก็ตาม แต่ว่าเป็นความปรกติสงบ หรือสงบเป็นปรกติกายวาจาใจ เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติเตรียมกายวาจาใจพร้อมที่จะทำสมาธิต่อไป โดยที่ได้ตั้งจิตว่าจะปฏิบัติในสมาธิในกรรมฐานข้อไหน และก็ให้น้อมใจไปถึงกรรมฐานข้อที่จะปฏิบัตินั้น และจะอธิษฐานจิตขออำนาจสรณะที่ถึงคือพระรัตนตรัยได้คุ้มครองรักษาจิตของตน และการปฏิบัติของตนให้ดำเนินไปด้วยดี แล้วก็จับปฏิบัติ.
“กรรม” ย่อมจำแนกสัตว์ให้เป็นไปต่างๆนานา ให้เลว ให้ดี ให้ชั่ว ให้ประเสริฐ ก็เพราะเป็นผลของกรรมที่ทำไว้ โอวาทธรรม..หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล...
|