นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน ศุกร์ 17 ม.ค. 2025 12:02 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: จิตตั้งเป็นสมาธิ
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 16 ส.ค. 2016 8:39 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
"...เพิ่นครูอาจารย์มั่นสอนให้ บริกรรมพุทโธ
จนกว่าจะชำนาญในบริกรรมจิต กายบริกรรม
พอจิตวางบริกรรมเป็นแล้ว เพียงแต่กำหนด
จิตรู้จิตอยู่ จิตก็ตั้งอยู่ได้ สอนเป็นสมาธิได้

เมื่อจิตตั้งเป็นสมาธิได้แล้ว ก็ให้ยกเอา
อาการของกาย เข้าอาการพิจารณา พอมันชัด
อย่างใดแล้ว เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ
หรืออาการอื่น ๆ อันใดมันชัดเจนนี้สุด ก็ให้เอา
อันนั้นมาพิจารณา พิจารณาอันใดได้ชัดเจน
พิจารณาก็ให้พิจารณาทั้งไป ทั้งกลับ
จนวางลงได้ในธาตุ ในทุกข์ อนิจจัง อนัตตา.."

หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ



".... เอ้า ผู้ข้าฯ จะขอถาม
สูเจ้า ทั้งหลายว่า...
ตายแล้ว.. ลุกจากนี้ไป
สูเจ้า.. มีที่อยู่ มีที่ไป
แล้วหรือยัง ยังรู้ตนได้ หรือยัง
หรือว่า ยังมืด ยังเมา
อย่าเอาแต่หลง เน้อ...
จะละเล่น อะไรนักหนา...
กับโลกอันนี้ คิดนึกให้ดีเน้อ..."

หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ






"..สัตว์ทั้งหลายไม่ว่าชนิดใดในสังสารนี้
ล้วนแต่ติดอยู่กับรูปกายนี้
ทำบุญ ทำบาป ก็เพราะกายนี้
รักชอบ ก็เพราะกายนี้
ประพฤติคุณธรรมวินัย ก็เพราะกายนี้
ผิดธรรมผิดวินัย ก็เพราะกายอันนี้
มรรคผลนิพพานจะเกิดขึ้น ก็จากกายอันนี้.."

หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ




คำว่า “ไม่สบายใจ” อย่าใช้
และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป
ก่อนมันจะเกิดต้อง Let it go !
ปล่อยมันให้ผ่านไป อย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้
ถ้าเผลอไป มันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้
พอมีสติรู้สึกตัวว่า ความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยุ่ในใจ
ต้อง Get it out ! ขับมันออกไปทันที
อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว.

โอวาทธรรม....ธมฺมวิตกฺโก ภิกฺขุ




ธรรมะ: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

ดั่งนี้ ก็จะพึงเห็นได้ว่า แม้ว่าจะเรียกว่าสมาธิอย่างเดียวกัน เรียกว่าฌานอย่างเดียวกัน แต่ว่าย่อมมีความแตกต่างกัน สมาธิหรือฌานบางอย่างไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ แต่สมาธิหรือฌานบางอย่างเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ อันฌานหรือสมาธิที่ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้นั้น อันจะพึงเรียกตรงกันข้ามกับสัมมาสมาธิ ว่ามิจฉาสมาธิคือสมาธิที่ผิด แต่ก็เป็นสมาธิเป็นฌานเหมือนกัน จิตก็แน่วแน่ แนบแน่นเหมือนกัน และก็เป็นจิตที่บรรลุถึงญาณคือความหยั่งรู้ อันเป็นอุตริมนุสธรรม ธรรมที่ยิ่งของมนุษย์ หรือธรรมของมนุษย์ที่ยิ่งได้ทำนองเดียวกัน แต่ว่าไม่เป็นไปเพื่อปัญญาที่ตรัสรู้ อันเป็นเหตุให้สิ้นกิเลสและกองทุกข์

แต่ว่าสมาธิที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ประกอบอยู่ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น ก็เป็นสมาธิเป็นฌานนั่นแหละ แต่ว่าเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ได้ จึงเรียกว่าสัมมาสมาธิ สมาธิชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ ก็คือว่าให้ตรัสรู้พระธรรมได้.




คนซึ่งมีกิริยามารยาทอ่อนโยน
สุภาพนิ่มนวล
ย่อมเป็นที่เสน่หารักใคร่ของคนที่ได้พบเห็น
และพยายามที่จะช่วยเหลือ.

โอวาทธรรนม....ธมฺมวิตกฺโก ภิกฺขุ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 93 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO