"การรักษาศีล ต้องรักษาให้จริงจัง หมั่นเพียร เหมือนแท่นหินศิลาใหญ่ โดนแดด โดนฝน โดนลม ก็ไม่หวั่นไหว ให้ตั้งมั่น เหมือนแท่นศิลา ที่เป็นที่มาของคำว่า ศีล"
-:-ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย-:-
"เวลามันหลง ระลึกได้ขึ้นมา ให้รู้สึกตัว เวลามันโกรธ ระลึกได้ขึ้นมา ให้รู้สึกตัว เวลามันทุกข์ ระลึกได้ขึ้นมา ให้รู้สึกตัว เวลามันกลัว ระลึกได้ขึ้นมา ให้รู้สึกตัว รู้สึกตัวระลึกได้ อย่างนี้คือ การปฎิบัติธรรม"
หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ
" ถ้าโยม ไม่เจริญกรรมฐาน รับรอง ๑๐,๐๐๐ % จะให้อภัยใครไม่ได้
ผูกพยาบาทตลอดเวลา ถ้าท่านไม่มีกรรมฐานแล้ว ท่านจะให้อภัยได้ยาก อโหสิกรรมกันได้ยาก มีแต่ผูกใจโกรธ ผูกพยาบาท
ถึงท่านคนนั้น จะบริจาคทาน สร้างวัดกี่วัดก็ตาม ก็ยังให้อภัยทานไม่ได้
ท่านต้องมีจิตใจสูงในกรรมฐาน ต้องมีสติปัฏฐานกำหนดจิต รู้หนอๆ รู้ว่าเราโกรธเขา รู้หนอๆ อย่าโกรธเขาเลย ให้อภัยเขาเถอะ
มันด่าเรา กำหนดต่อไป ด่าเรายังโกรธ ก็โกรธหนอๆๆ อ๋อบัดนี้ข้าพเจ้า ไม่โกรธแล้ว ข้าพเจ้ามีกรรมฐาน ข้าพเจ้าจะไม่ขอโกรธท่าน
เรียกว่า " อ โ ห สิ ก ร ร ม " ก ร ร ม นั้นจะ ไ ม่ ต่ อ ใ ห้ ยื ด ย า ว เรียกว่า ตัดให้สั้น เหมือน รถหมดน้ำมัน ไม่วิ่งอีกแล้ว กรรมไม่ต่อกรรมอีกแล้ว เรียกว่า อโหสิกรรม นี่แหละ กรรมฐาน จึง แก้กรรมได้
เจริญกรรมฐาน อโหสิกรรมได้ จะได้ไม่มีกรรมเวรกันไปในชาติหน้า เราจึงนิยมการลากรรมฐาน ขออโหสิกรรม ขอขมาลาโทษพระรัตนตรัย อาจจะ เจตนาไม่ดี คิดไม่ดี อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นบาปเป็นกรรมทั้งสิ้น
จึงต้องให้อภัยทาน ให้อภัยโทษเรียกอย่างหนึ่งว่า " อโหสิกรรม " จะไม่เอาเวรกรรมกันต่อไปอีก กรรมสิ้นกันเสียทีนับแต่บัดนี้คือการเจริญพระกรรมฐาน
คนที่ เ จ ริ ญ ส ติ ไ ด้เขาจะให้อภัยทุกประการนี่ ขอฝากไว้ "
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) หนังสือกฎแห่งกรรม วิปัสสนา สื่อวิญญาณตอนที่ ๙ หน้าที่ ๖๕-๖๖
"..ทำไม่ต้องทำวันเกิด ทำวันอื่นไม่เป็นบุญหรือ คิดอยากจะทำบุญเมื่อไร ก็ให้รีบทำวันนั้น
อย่าไปรอวันเกิด กว่าจะถึงวันเกิด เราอาจจะถึงวันตายนั่นแหละ.."
โอวาทธรรม.. องค์ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก
"...ทานก็จะต้องบำเพ็ญด้วยตนเอง ศีลก็จะต้องรักษาด้วยตนเอง ภาวนาก็ต้องทำด้วยตนเอง จึงจะเป็นผู้รู้ผู้เห็น..." โอวาทธรรมคำสอน.. องค์หลวงพ่อทอง จนฺทสิริ
"...คนที่จิตยังไม่สูงเต็มที่ เมื่อใครเขาด่าว่าอะไรก็มักเก็บไปคิด คนเราโดยมากสำคัญตนว่าเป็นคนฉลาด แต่ชอบกลืนกินอารมณ์ที่ชั่ว
อารมณ์ชั่วเปรียบเหมือนกับเศษอาหารที่เขาคายออกแล้ว ถ้าเป็นคนอดอยากยากจนจริงๆ จำเป็นจะต้องขอเขากิน ก็ควรกลืนกินแต่อารมณ์ที่ดี เปรียบเหมือนอาหารที่ไม่เป็นเศษของใคร..."
โอวาทธรรมคำสอน.. องค์ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
|