"ถ้าเรามีภรรยา แล้วต้องคอยกลัวภรรยา จะไปคบชายอื่น เราก็ไม่อยากได้
หรือเรามีสามี แล้วสามีไปคบกับหญิงอื่น เราก็ไม่อยากได้ คิดดูซี่
หรือเรามีลูก มีเต้า มีคนมาเบียดเบียน เราก็ไม่อยากได้ หรือใครอยากได้
ตัวเรานี่ซิ ถ้าเรามีศีลแล้ว รู้จักลูกเขา ภรรยาเขา สามีเขา ก็ไม่เบียดเบียนซึ่งกันแลกัน เราก็อยู่เป็นสุข
ถ้าเราไปล่วงเกินเขาแล้ว กรรมนั้น ก็ติดตนไปหลายภพ หลายชาติ ได้บุตรภรรยาอย่างนี้ ภรรยาสามีก็ทะเลาะกัน ไม่ถูกกัน เหตุนั้น พระพุทธเจ้า จึงห้ามกาเม"
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
"ทำงาน อย่าเอาแต่ใจตัวเอง เราทำอะไร เราก็ว่าเราถูก แต่มันอาจจะไม่ถูกคนอื่นเขา
อย่ามัวแต่ว่าคนนั้นทำผิด คนนี้ทำผิด ให้กลับมาดู ความผิดของตัวเอง อย่างเดียวดีกว่า"
ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก
บุคลิก สำคัญไม่น้อยกว่า วิชาความรู้ บุคลิกลักษณะ เป็นจุดเด่นของคน ส่วนวิชาความรู้ เป็นกำลังหนุน"
หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป
"การมองกัน อย่ามองในแง่ร้าย ให้มองในแง่เหตุผลเสมอ
หากมีเหตุผล หรือความจำเป็น ที่จะมองกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกันอยู่ร่วมกัน ให้คิดเผื่อไว้เสมอ คือความเมตตา
ความให้อภัย ซึ่งกันและกันนี้ เป็นหลัก ของผู้ปฏิบัติธรรม"
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
หยดน้ำลงใบบัว
...ฟังให้ชัดเสียท่านทั้งหลายมาฟังธรรมเรา เราปฏิบัติมา ไม่ปฏิบัติมาเพื่อโกหกท่านทั้งหลาย อะไรในโลกอันนี้จะเหนือธรรมกับใจเป็นอันเดียวกัน นี่ละ เลิศเลออยู่ตรงนี้
นินทา สรรเสริญ โลกธรรม ๘ ไม่มีในจิตของพระอรหันต์
มันตกไปเองเหมือนหยดน้ำลงใบบัว ตกพับไหลกลิ้งไปเลยๆ ไม่ขึมขาบกัน
นี่ละจิตที่บริสุทธิ์เต็มที่แล้วกับโลกทั้งหลาย...”
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน คัดจากหนังสือ ธรรมเปิดโลก (๒๕๔๒) : หน้า ๑๑๘-๑๑๙
บุญกุศลที่สร้างสมถึงที่แล้วมันจะหมดเรื่อง ไม่มีอะไรอีก และไม่เอาไปด้วย บาปก็ไม่เอา บุญก็ไม่เอา ผู้ที่ยังเอาอยู่จึงได้บุญได้บาป เป็นภพเป็นชาติขึ้น ผู้ทอดธุระแล้ว ไม่มีบุญและบาปแล้ว จึงได้เรียกว่า โลกุตระ เหนือโลก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
หลวงปู่แหวน: "พากันมาลำบากลำบน มากันทำไม?"
คณะญาติโยม: "ต้องการมากราบ บารมีของหลวงปู่"
บารมีต้องสร้างเอา เหมือนอยากให้มะม่วงของตน มีผลดก ก็ต้องหมั่น บำรุงรักษาเอา ไม่ใช่แก่ไปชื่นชมต้นมะม่วงของคนอื่น ต้องไปปลูก ไปบำรุงต้นมะม่วงของตนเอง การสร้างบารมีก็เช่นกัน ต้องสร้าง ต้องทำเอาเอง
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
"...เราควรจะแยก ระหว่างความเห็นแก่ตัว(กิเลส) และการเห็นแก่ตัวชีวิต การเห็นแก่ตัว(กิเลส) คือการตามใจกิเลส การเห็นแก่ตัวชีวิต คือทางพ้นจากกิเลส
เห็นแก่ตัวชีวิต คือการรับรู้ว่าโดยหลักสัจธรรมว่า คนเราเกิดคนเดียว แก่ก็แก่คนเดียว เจ็บก็เจ็บคนเดียว ตายก็ตายคนเดียว
เรื่องการละกิเลส การบำเพ็ญกุศล ไม่มีใครทำให้เราได้ เป็นงานของเราโดยเฉพาะ และการเกิดเป็นมนุษย์ ถือว่าเป็นลาภอย่างยิ่ง เป็นบุญอย่างยิ่ง เพราะเราอยู่ในภาวะ ที่สามารถละบาปบำเพ็ญกุศล ชำระจิตใจของตนให้ขาวสะอาดได้
ดังนั้นการเห็นแก่ตัวชีวิต ไม่ใช่สิ่งที่น่าตำหนิเลย เป็นสิ่งที่ควรจะชื่นชม เพราะแต่ละคน ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของตน..."
โอวาทธรรมคำสอน.. องค์ท่านพระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
"...พวกเราเหล่าพุทธบริษัททั้งหลาย จะเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิตก็ตาม จะเป็นหญิง หรือว่าเป็นชายก็ตาม ควรที่เราทั้งหลาย จะสร้างคุณงามความดีให้มีขึ้น อันเป็นธรรมเยือกเย็น เพื่อที่จะมาดับเสียซึ่งความเดือดร้อน ความวุ่นวาย ความระอุทั้งภายในและภายนอก
ธรรมที่เป็นเครื่องเยือกเย็น เป็นสุขแก่ชีวิตจิตใจของเราท่านทั้งหลาย มี ๓ ประการ คือ ๑ ศีล ๒ สมาธิ ๓ ปัญญา..."
โอวาทธรรมคำสอน.. พระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมจักรสังวร) วัดพระพุทธบาทตากผ้า
น้ำหนักของกรรม
"...กรรมให้ผลไม่เหมือนกัน คือให้ผลทันเวลา และให้ผลในระยะยาวต่อไป
ฉะนั้น ทุกคนจึงมีโอกาสรับกรรมไม่เหมือนกัน บางคนคิดว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วได้ดี
ทั้งนี้ เป็นเพราะความดีที่ทำไว้ ยังไม่มาถึง
ความชั่วหนักกว่า ก็มาให้ผลก่อน ส่วนความดีนั้นเบาก็จะให้ผลในภายหลัง
เพราะความดี ความชั่ว น้ำหนักไม่เท่ากัน..."
โอวาทธรรมคำสอน.. องค์หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม
|