อังคาร 27 ส.ค. 2019 2:06 pm
รูปหล่อพระนาคปรกลอยองค์ พิธีพระคันธารราฐ ๒๔๗๖(แต่ทั่วไปจะระบุพ.ศ.๒๔๗๒ซึ่งเป็นการเริ่มดำเนินการจัดสร้าง มีการส่งแผ่นยันต์ให้พระคณาจารย์ต่างๆ ลงยันต์ให้ เตรียมวัตถุมงคลต่างๆ ที่จะหล่อพระ)
สุดยอดแห่งพระหายากมากๆ เป็นพระในตำนานจังหวัดนครปฐม (มีบันทึกในหนังสือประวัติพระเครื่องนครปฐม)
พระนาคปรกรูปหล่อลอยองค์ของท่านเจ้าคุณโชติ เนื้อพระเป็นสัมฤทธิ์เหลืองอมแดง (แก่ชนวนพระกริ่งที่พระสังฆราชแพ(พระวันรัต) ถวายทำให้เนื้อออกกระแสแดง ซึ่งพระพิมพ์อื่น ๆจะมีเนื้อออกเหลืองซึ่งได้ผสมทองเหลือง ขันลงหินเพิ่ม) เมื่อมีการสัมผัสนานๆเนื้อจะกลับกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ พระพักตร์เป็นศิลปะแบบอินเดีย ส่วนพญานาคมี ๗ เศียร ด้านหลังองค์พระมียันต์เฑาะว์มหาพรหม(เฑาะว์ขัดสมาธิ) ตามด้วยอุหางชี้ลง (บางองค์บรรจุกริ่ง) ขนาดสูงประมาณ ๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒.๔ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร ฐานแปดเหลี่ยม หล่อดินไทย องค์ที่ไม่อุดกริ่งจะมีดินไทยอยู่
จำนวนการสร้างสันนิษฐาน ไม่เกินร้อยองค์ ถ้าจะประมาณ คง ๕๔ องค์ มาจาก อายุของท่านเจ้าคุณโชติตอนสร้างพระนาคปรกรูปหล่อลอยองค์นี้ปีพ.ศ.๒๔๗๖ ท่านมีอายุได้ ๕๓ ปีการสร้างพระเป็นการเจริญอายุวัฒนะต้องบวกอีกหนึ่งปี ดังนั้นจึงเป็น ๕๔ องค์ (เหตุผลมาจากท่านเกิดวันเสาร์ สร้างพระนาคปรกเป็นพระประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์ ดังนั้นท่านจึงเป็นการสร้างตามอายุท่าน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา)
ตามบันทึกในหนังสือประวัติพระเครื่องนครปฐม ในพิธี พุทธาภิเษกวันแรก มีพระคณาจารย์นั่งปรก ๔ ทิศ ประกอบด้วย หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เป็นประธาน หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้องนั่งธรรมมาสน์ ๔ ทิศในโบสถ์ ตอนอธิษฐานจิตใกล้จะเสร็จ มีแสงสว่างจ๊า!!! ...ออกจากปากหลวงพ่อโหน่ง พุ่งไปคลุมพระทั้งหมด หลวงพ่อปานรีบลุกจากธรรมาสน์ ไปกราบหลวงพ่อโหน่ง
อธิบายไม่ใช่หลวงพ่อปานกราบหลวงพ่อโหน่ง อย่างที่เข้าใจกัน เหตุเพราะว่า ตามประวัติหลวงพ่อปาน หลวงพ่อปานเคยไปพบเพื่อขอเรียนวิชากับหลวงพ่อโหน่ง ตามที่หลวงพ่อเนียมบอกว่าถ้าสิ้นท่านให้ไปหาท่านโหน่ง ปรากฏว่า สอบไปสอบมาวิชายันกัน คือเท่ากัน ไม่มีใครสอนใคร
แต่หลวงพ่อโหน่งเป็นพระพิเศษในสมัยนั้นที่พระคณาจารย์ต่างยกย่อง แม้แต่เจ้าคุณเฮง วัดบ้านขอม ถ้ารู้ว่าหลวงพ่อโหน่ง มาจะไม่ทำอะไรรอจนกว่าหลวงพ่อโหน่งสั่ง มีพิธีหนึ่ง รอเป็นชั่วโมง เหลือหลวงพ่อโหน่งองค์เดียว เจ้าคุณเฮง ก็ไม่ทำอะไรบอกถ้าหลวงพ่อโหน่งไม่มายังไม่ทำอะไรทั้งสิ้น พอหลวงพ่อโหน่งมาถึง เจ้าคุณเฮงถามว่า พระท่านว่าอะไรบ้างขอรับ หลวงพ่อโหน่งถึงบอกว่า พระท่านบอกว่า พิธีต้องทำแบบนี้ ๆ ที่ให้ทำฤกษ์นั้นมันผิดใช้ไม่ได้ คือหลวงพ่อโหน่งท่านมีพระคุมอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นในพิธีพุทธาภิเษกพระคันธารราฐ มีแสงออกจากปากหลวงพ่อโหน่ง ไปคลุมวัตถุมงคล หลวงพ่อปานท่านรู้ว่า เป็นด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้า ท่านหลวงพ่อปานถึงลุกจากธรรมาสน์รีบไปก้มกราบ พระพุทธเจ้าที่คุมหลวงพ่อโหน่งอยู่นั่นเอง
พระเครื่องคันธารราฐจัดสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เพราะเกิดฝนแห้งแล้งอย่างหนัก ประชาชนอดอยากเป็นอย่างยิ่ง ท่านเจ้าคุณปรารภถึงเหตุนี้แล้วจึงได้จัดทำพิธีหล่อขึ้นหน้าลานพระปฐมเจดีย์ ซึ่งได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์พระ ประธาน
โดยโลหะที่ใช้หล่อผสมประกอบไปด้วย ๑.ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ๒.ชิ้นส่วนขันลงหินจากชาวบ้าน ๓.แผ่นโลหะจารอักขระยันต์จากพระคณาจารย์ทั่วประเทศในสมัยนั้น ๔.แผ่นทองคำจารลงดวงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า
โดยหลวงปู่บุญ เป็นประธานพิธีเททอง และประธานพุทธาภิเษก เจ้าคุณศรีสนธิ์ เป็นประธานควบคุมการหล่อเนื้อพระโลหะ มีการสร้างพระหลาย ๆ อย่าง คือ
พระพุทธรูปบูชาคันธารราฐประทับยืนปางขอฝน ขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งองค์ พระพุทธรูปบูชาคันธารราฐประทับยืนปางขอฝน ขนาด ๑๒ นิ้ว เหรียญหล่อคัน ธารราฐทรงกลีบจำปา ไม่มีหูพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ เหรียญหล่อคันธารราฐทรงใบเสมาคว่ำ เหรียญหล่อรูปเหมือนพระเทพสุธีโชติครึ่งองค์หันข้าง พระปิดตามหาอุด พระประจำวันใบเสมาหลังยันต์ หลังองค์พระปฐมเจดีย์ รูปหล่อลอยองค์พระนาคปรก พระนาคปรกบูชา ๑ องค์ พระบูชาพระประจำวันตามผุ้สั่งดำเนินการ
จากหนังสือประวัติพระเครื่องนครปฐม
สาเหตุที่สร้างพระคันธารราฐ ปีพ.ศ.๒๔๗๖
ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ เกิดฝนแล้งทั่วไป ประชาชนต่างอดอยากเป็นอย่างยิ่ง ท่านเจ้าคุณโชติมาปรารภถึงเหตุนี้ และต่อมาท่านเจ้าคุณโชติจึงได้จัดพิธีหล่อพระคันธารราฐ (ปางขอฝน) ในการเทหล่อพระครั้งนี้ท่านเจ้าคุณโขติได้มอบหมายให้ช่างแช่ม ชื่นจิตต์เป็นผู้หล่อพระครั้งนี้(ช่างแช่มอายุมากกว่าเจ้าคุณโชติ) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๖
แล้วจำแนกแจกจ่ายไปยังวัดต่างๆ วัดละ ๑ องค์ รวม ๑๕๐ วัด เมื่อตำบลใดข้าวยากหมากแพง ประชาชนพากันอาราธนาพระคันธารราฐ ออกทำพิธีบวงสรวงขอฝน ซึ่งมีอภินิหารเป็นที่น่าอัศจรรย์ และในโอกาสนั้นได้มีการสร้างพระคันธารราฐองค์ประธานสูงประมาน ๒ เมตร ๑๐ เซนติเมตร ๑ องค์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บนศาลาการเปรียญ
พระคณาจารย์ที่เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนี้
๑.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
๒.หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
๓.หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน
๔.หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
๕.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
๖.หลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม จ.สมุทรสงคราม
๗.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จ. นครปฐม
๘.พระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้วยจรเข้ จ.นครปฐม
๙.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง จ.นครปฐม
๑๐.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
๑๑. หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม
๑๒.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
๑๓.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
๑๔.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
๑๕.หลวงพ่อวงศ์ วัดทุ่งผักกูด จ.นครปฐม
๑๖.หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม
๑๗.หลวงปู่ชา วัดสามกระบือเผือก
๑๘.พระสังฆราชแพตอนนั้นท่านยังไม่ได้เป็นพระสังฆราชยังเป็น สมเด็จพระวันรัต (ได้มอบชนวนพระกริ่งที่จัดสร้างเพื่อผสมในพระชุดนี้ด้วย)
๑๙.เจ้าคุณศรีสนธิ์
๒๐.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
๒๑.หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา
๒๒.หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
๒๓.หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู และอาจารย์อื่นๆรวม ๑๐๘ รูป