ห้องแสดงภาพพระบูชา พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และ วัตถุมงคลต่าง ๆ โดยเฉพาะ (ไม่มีการพาณิชย์)
ศุกร์ 25 ก.ย. 2009 6:23 pm
เหรียญนี้มีประวัติการสร้างและประสบการณ์เป็นอย่างไรบ้างครับคุณรณธรรม เห็นกระทู้อาจารย์สมเด็จโต เลยไปรื้อกรุที่บ้านดู ก็เจอเหรียญนี้หล่ะครับ
- แนบไฟล์
-
- 149.jpg (104.43 KiB) เปิดดู 3392 ครั้ง
ศุกร์ 25 ก.ย. 2009 8:41 pm
ชอบจังเลย แลกกับเหรียญหลวงพ่อสุรินทร์ได้ไม๊เนี่ย
ศุกร์ 25 ก.ย. 2009 9:04 pm
เอาจากไหนมาเนี่ยยย
เสาร์ 26 ก.ย. 2009 10:02 am
เดี๋ยวผมลงรูปให้ดูผมบังเอิญมี 2 เหรียญครับนึกว่าไม่นิยมกันเห็นพ.ศ.ลึกดีเลยเก็บลืมซะงั้น
เสาร์ 26 ก.ย. 2009 5:19 pm
เสาร์ 26 ก.ย. 2009 11:31 pm
- .gif (16.55 KiB) เปิดดู 3245 ครั้ง
ก๊ากกกกก...กั่ก.....กั่ก....กั่ก.... ฮาเจง ๆ
อันนี้ฮาแบบธรรมชาติจิง ๆ คับ
เสาร์ 26 ก.ย. 2009 11:50 pm
ราชันย์ดำ เขียน:เหรียญนี้มีประวัติการสร้างและประสบการณ์เป็นอย่างไรบ้างครับคุณรณธรรม เห็นกระทู้อาจารย์สมเด็จโต เลยไปรื้อกรุที่บ้านดู ก็เจอเหรียญนี้หล่ะครับ
เอ้า ตอบเป็นเรื่องเป็นราวล่ะครับ
เหรียญนี้สร้างขึ้นโดยกรรมการวัดมณีชลขัณฑ์โดยตรง เรียกแบบเซียนก็ต้องว่า "วัดสร้าง" ควรจะนิยมให้มาก ๆ
ส่วนรูปพระพุทธทำไมชื่อ "หลวงพ่อแสง" ทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อแสงเป็นมนุษย์มีเลือดเนื้อโดยสมบูรณ์ มีตัวตนจริงและเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพ
นั่นเป็นเพราะพระพุทธรูปยืนองค์นี้ผู้สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาคือ หลวงพ่อแสง แห่ง วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี นั่นเอง ทีนี้พระบูชาขนาดใหญ่สมัยก่อนเมื่อสร้างแล้วถ้าผู้สร้างมิได้ถวายพระนามอย่างเป็นทางการให้ประชาชนรับทราบ คนทั่วไปก็จะไม่ทราบว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีชื่อว่าอย่างไร ? นานเข้าเมื่อมีคนถามถึงจึงต่างพากันเรียกขานว่า พระหลวงพ่อแสง สุดท้ายก็กลายเป็นพระนามประจำองค์พระพุทธไปเสียว่า "หลวงพ่อแสง"
คนที่ไม่ทราบเรื่องราวที่มาที่ไป ก็จะเดินหา "รูปหล่อเหมือนเท่าองค์จริง" ของหลวงพ่อแสง วัดมณีชลขัณฑ์ กันให้ควั่กไปหมด ซึ่งที่จริงแล้วก็หมายถึงพระพุทธรูปที่หลวงพ่อแสงได้สร้างไว้นั้นเอง
เหรียญรูปพระพุทธนามหลวงพ่อแสงนี้สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชาในปี พ.ศ. 2503 เข้าใจว่าจะออกในงานสำคัญของวัด เพราะวัดมณีฯ มิใช่ว่าจะสร้างวัตถุมงคลกันบ่อย ๆ ดังเช่นอารามอื่น ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ ในปีพ.ศ. 2503 นั้น ท่านเจ้าคุณพระเทพวรคุณ (อ่ำ ภัทราวุโธ) วัดมณีชลขัณฑ์ ยังดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งท่านเจ้าคุณปู่อ่ำนั้นเป็นน้องชายร่วมสายโลหิตของพระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพ
นอกจากท่านเจ้าคุณปู่อ่ำจะเป็นทั้งน้องและศิษย์ของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ แล้ว ก็ยังเป็นทั้งสหธรรมิกและศิษย์ในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อีกด้วย จึงไม่ต้องสงสัยถึงความเป็นพระบริสุทธิ์สงฆ์บริสุทธิ์จิตของท่านเลย แม้ยามอาพาธหนักเจียนมรณภาพ ท่านก็ไม่ปริปากถึงทุกขเวทนาที่กำลังเสวยอย่างสาหัส มีอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใสเบิกบานเหมือนคนที่มิได้เจ็บป่วยแต่ประการใด
เมื่อจะนิมนต์ท่านไปพบแพทย์ท่านก็ปฏิเสธอย่างนุ่มนวล และมิได้ให้ศิษย์หรือผู้อุปัฏฐากต้องมาลำบากใด ๆ กับท่านเลย ตลอดชนม์ชีพท่านก็พำนักในพระอุโบสถ ไม่ได้อยู่กุฏิหรูหราสุขสบาย ที่สุดแล้วเมื่อวันมรณภาพมาถึง ท่านก็ไม่ยอมย่างกรายออกจากพระอุโบสถ ปรารภว่า ยอมตายถวายชีวิตอยู่ในพระอุโบสถนี้ ราวกับว่าเมื่อถือกำเนิด(เป็นภิกษุ)ในโบสถ์ ก็ขอละสังขารในโบสถ์เช่นกัน
แล้วท่านก็มรณภาพจากไปในปี พ.ศ. 2511
ดังนั้น เหรียญที่คุณราชันย์ดำและคุณjirayu2ครอบครองอยู่ จึงเป็นเหรียญที่ทันท่านเจ้าคุณปู่อ่ำอธิษฐานพรแน่นอนครับ และยังอาจล่วงเลยไปถึงท่านพ่อลี หรือท่านพระอาจารย์ฝั้น หรือครูบาอาจารย์รูปอื่น ๆ อีกด้วย เพราะในยุคนั้น พระเถรานุเถระก็ยังแวะเวียนไปวัดมณีชลขัณฑ์กันอย่างต่อเนื่อง เหตุเพราะท่านเจ้าคุณปู่อ่ำเป็นพระมหาเถระที่พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และสานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง เป็นหลักชัยหลักใหญ่อีกองค์หนึ่งของเมืองละวะปุระเลยทีเดียว
ท่านพ่อลีมีพระธาตุเสด็จมาหาเป็นครั้งแรกในชีวิต ก็ที่กุฏิไม้ในวัดมณีชลขัณฑ์นี่แหละครับ
อาทิตย์ 27 ก.ย. 2009 3:09 am
อาทิตย์ 27 ก.ย. 2009 9:50 am
คิดว่าพรุ่งนี้จะเอามาโชว์มั่งครับ หลังจากไปเที่บวบ้านคุณจิรายุ
อาทิตย์ 27 ก.ย. 2009 10:40 am
ไม่เป็นไรมิได้ครับ And Thank you หลายครับ พอดีหลวงปู่ติดต่อนัดคิวเลี่ยมเรียบร้อยแล้วครับ
จันทร์ 28 ก.ย. 2009 12:43 am
จันทร์ 28 ก.ย. 2009 11:03 am
ระวังนาย สุกรนภา นะฮะ
คริ คริ คริ
จันทร์ 28 ก.ย. 2009 12:24 pm
จันทร์ 28 ก.ย. 2009 9:29 pm
โห ดูดีมีชาติตระกูลมาก ๆ ครับ
จันทร์ 28 ก.ย. 2009 11:45 pm
ของคุณเอกมาได้ยังไงเนี่ย รีบนำมาคืนโดยด่วน
อังคาร 29 ก.ย. 2009 2:20 am
อังคาร 29 ก.ย. 2009 2:38 pm
อังคาร 29 ก.ย. 2009 3:21 pm
ขอไปด้วยคนนะเพคะ เสด็จลุง
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.