พฤหัสฯ. 21 ม.ค. 2010 9:58 pm
ใครจะคิดว่า วัดธาตุทองในกรุงเทพฯ จะมีวัตถุมงคลด้วย แต่ก็มีแล้ว และก็มีตั้งแต่ปี๒๕๑๙นู่นแน่ะ เท่าที่เคยเห็น มีเหรียญ และ แผ่นปั๊ม
"หลวงพ่อพระพุทธชินินทร์" มีพระเกจิที่มาปลุกเสกมากมาย และมีหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นประธานอีกด้วย มีพระเกจิสายพระอาจารร์มั่นมาปลุกเสกด้วยครับ อาศัยว่าตอนเด็ก เติบโตมาแถวเอกมัย บ้านอยู่หลังวัดธาตุทองเลยครับ คุณย่ามาซื้อที่สองไร่ปลูกบ้านอยู่ในซอยพาสนา๒(เอกมัย๒) เมื่อปีพศ.๒๕๐๐ นานๆจะเจอเหรียญสวยๆสักที เหรียญรุ่นนี้ ผมเองไม่ทราบว่ามีกี่เนื้อ แต่ที่เห็นผ่านตามีเนื้อทองแดงเนื้อ เดียวครับ
ประวัติ วัดธาตุทอง
วัดธาตุทองตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท เลขที่ ๑๓๒๕ แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ ๕๔ ไร่ ๓ งาน ๘๒ ตารางวา
ความเป็นมาของวัดธาตุทอง เดิมมี ๒ วัด แห่งหนึ่งชื่อวัดหน้าพระธาตุ อีกแห่งหนึ่งชื่อวัดทองล่าง
วัดหน้าพระธาตุตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ชื่อว่าวัดหน้าพระธาตุนี้ เนื่องด้วยภายในกลางบริเวณวัด มีเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่ง ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ฉะนั้นเครื่องหมายของวัดธาตุทองนี้ จึงมีรูปเจดีย์ หน้าอุโสถประตูหน้าต่างเป็นสัญลักษณ์)
ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ รัฐบาลต้องการที่ตำบลคลองเตย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง ซึ่งอยู่ภายในบริเวณนั้น จึงถูกเวนคืนทั้ง ๒ วัด โดยรัฐบาลชดใช้เงินให้เพื่อไปรวมกับวัดอื่น หรือไปสร้างวัดใหม่ขึ้นคณะกรรมการได้มาตกลงเลือกซื่อ
สถานที่ในปัจจุบัน โดยถือกรรมสิทธิ์เป็นที่วัดธาตุทอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๐ ส่วนที่มาของวัดทองล่างนี้เล่ากันมาว่า สถานที่ตรงนั้นเป็นสวนผลไม้ของ ปู่ ย่า ตา ยาย ของนายทอง โดยได้รับมรดกจากวงศ์สกุล นัยว่า กลางสวนนั้นมีต้นโพธิ์ใหญ๋โตมากนายทองจึงเป็นกังวลเพราะเห็นว่าต้นโพธิ์ เป็นต้นไม้ในวัดไม่สมควรจะให้อยู่ในบ้าน จะโค่นทิ้งเสียก็กลัวว่า จะเป็นอันตรายแก่ตนและครอบครัว จึงบริจาคที่ส่วนนั้น สร้างเป็นวัดเล็กๆขึ้น พอเป็นที่อยู่ของพระพอสมควรวัดนั้นยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ดีแต่ก็ยังมีสมภารชาวรามัญรูปหนึ่งชื่อว่า "กะทอ" กะทอเป็นภาษารามัญ กะ แปลว่า ปลาตะเพียน ทอ แปลว่า ทอง กะทอ จึงแปลว่า ปลาตะเพียนทอง ส่วนชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า สมภารทอง สมภารกับนายทองเจ้าของวัดต่างร่วมกันทำนุบำรุงวัดจัดสร้างอุโบสถเสนาสนาราม ต่อมาท่านทั้ง ๒ เล็งถึงนิมิตหมาย ๓ ประการ คือ ๑. ที่เดิมมีต้นโพธิ์อยู่ ๒. เจ้าของที่ชื่อนายทอง ๓. สมภารชื่อทอง จึงตั้งชื่อวัดนี้ขึ้นว่า "วัดโพธิ์สุวรรณาราม" หรือวัดโพธิ์ทอง ครั้นนายทองถึงแก่กรรม นายบุตรเกิดผู้บุตร ได้ปฎิสังขรณ์วัดเป็นลำดับ มาในชั้นหลังๆวัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดทอง" ภายหลังวัดทอง มีหลายแห่งตามแม่น้ำเจ้าพระยามีทั้งด้านบนและล่างจึงเพิ่มอักษรท้ายชื่อนี้ว่า "วัดทองล่าง" คู่กับวัดทองบน ที่ตั้งของวัดทองล่างนี้ อยู่ใกล้กับฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองพระโขนง อยู่ในอาณาเขตต้องถูกเวนคืนที่ดิน ทางคณะสงฆ์จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีพระเดชพระคุณพระมหารัชมังคลาจารย์(เทศ นิเทสสกเถร) สมัยเมื่อยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระรัชมงคลมุนี วัดสัมพันธวงศ์ เป็นประธานกรรมการและท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวจเถร)ครั้งยังเป็นพระเทพมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้แนะนำเลือกสถานที่ดินที่สร้างวัด มีเนื้อที่ ๕๔ ไร่ ๓ งาน ๘๒ ตารางวา ราคาที่ดินไร่ละ ๕๐๐ บาท หรือวาละ ๕สลึง
คณะกรรมการได้จัดการย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุ
"วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง" มาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบลคลองบ้านกล้วย ณ สถานที่แห่งนี้ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารเป็นองค์อุปถัมภ์ และทรงนำมงคลนาม ทั้ง ๒วัดนี้มารวมกันประทานนาม
ใหม่ว่า "วัดธาตุทอง" ย้ายมาเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๘๑
ปี ๒๔๘๒ จึงเริ่มมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาเป็นคราวแรก
ปี ๒๔๘๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ได้เริ่มก่อสร้างมาตามลำดับ จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งมีถาวรวัตถุ และความสำคัญแต่ละอย่าง ตามความเหมาะสมของวัด ดังต่อไปนี้
วัตถุเครื่องก่อสร้าง ที่สำเร็จเป็นหลังๆ ไปนั้น เมื่อเห็นว่าตอนสำเร็จแล้วก็รู้สึกว่าหาได้ง่าย ไม่อยากลำบากอะไร แต่ความจริงแล้ว ยากลำบากที่สุด เช่น พระอุโบสถ กว่าจะผูกพัทธสีมาได้ต้องใช้เวลาถึง ๑๕ ปี ทำให้กลัวไปต่างๆนานา
เพราะผู้สร้างโบสถ์ หากไม่ตายเร็ว ก็รวยเร็ว แต่ก็ไม่ตายและไม่รวย จึงต้องอาศัยเวลานาน ซึ่งต้องอดทนทุกอย่าง ที่ว่าเป็นบุญเป็นกุศล ก็คงเนื่องจากว่าทนได้นี้เอง
ประวัติวัดจาก
http://www.watthattong.com/
- แนบไฟล์
-
- 1980696.jpg (148.92 KiB) เปิดดู 1544 ครั้ง
-
- 1980697.jpg (122.51 KiB) เปิดดู 1544 ครั้ง