พฤหัสฯ. 27 พ.ย. 2008 7:55 am
ประเพณี รับบัว
ประเพณีรับบัว นี้เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบกันมาแต่โบราณของชาวอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ
ความเป็นมาของประเพณีมีความดังนี้
ในสมัยก่อนนั้น ในแถบอำเภอบางพลีมีประชาชนอาศัยอยู่แบ่งเป็น 3 พวก ด้วยกัน คือ คนไทย
คนรามัญ คนลาว ซึ่งแต่ละพวกก็มีผู้ควบคุมดูแล ซึ่งแต่ละพวกก็ทำมาหากินในอาชีพต่าง ๆ กันและ
ต่อมา กาลครั้งหนึ่ง ทั้งไทย รามัญ ลาว ทั้งสามพวกก็ได้ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วย กันหักร้าง
ถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่และทำสวนต่อไป ซึ่งแต่ก่อนนี้เต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขม และ
พันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้นเต็มพรืดไปหมด มีสัตว์ร้ายนานาชนิดจำนวนมากอาศัยอยู่ทางฝั่งใต้ของลำคลอง
ก็เต็มไปด้วยป่าแสมน้ำก็เป็นน้ำเค็ม ทางฝั่งเหนือก็เต็มไปด้วยบึงใหญ่ ๆ ภายในบึงแต่ละบึงก็ลึกลุ่ม
มีบัวหลวงขึ้นมากมาย พวกคนไทย รามัญ ลาว ต่างก็พยายามช่วยกันหักล้าง ถางพงเรื่อยมาจนถึงทาง
สามแยก คือ ทางหนึ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทางหนึ่งไปทางทิศเหนือทางหนึ่งไปทางทิศตะวัน
ออกเฉียงเหนือ คือ คลองสลุด 1 คลองชวดลากข้าว 1 คลองลาดกระบัง1 พอมาถึงตรงนี้คนทั้ง 3 พวกต่าง
ก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันไปทำมาหากินกันคนละทางจะดีกว่า เพื่อจะได้รู้ถึงภูมิประเทศว่าด้าน
ไหนจะหากินได้คล่องกว่ากัน เมื่อตกลงกันดังนั้นแล้วจึงต่างก็แยกทางกันไป พวกคนลาวไปทางคลอง
สลุดพวกคนไทยไปคลองชวดลากข้าว พวกคนรามัญไปทางคลองลาดกระ-บัง ทำมาหากินกัน ต่อมาพวก
คนรามัญที่ แยกกันไปทำมาหากินทางคลองลาดกระบังทำอยู่ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนกและหนูชุกชุม
รบกวนพืชผลต่าง ๆ จนเสียหายเป็นอันมากเมื่อทำมาหากินไม่ได้ผล พวกรามัญต่างก็ปรึกษาหารือกัน
เพื่อเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิม คือทางฝั่งปากลัด และเริ่มอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปก็พากันไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนั้นไป
มากมาย บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน ที่ปากลัด และได้สั่งเสียคนไทยที่รักใคร่สนิทชิดชอบกันว่าในปีต่อ ๆ ไปเมื่อถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้ช่วยกัน
เก็บดอกบัวหลวงรวบรวมไว้ให้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วย แล้วพวกตนจะมารับเอาดอกบัวไป
เป็นด้วยอุปนิสัยของคนไทยนั้นมีจิตใจโอบอ้อมอารีพวกพ้องและผู้อื่นอยู่แล้วก็ตอบตกลงว่ายินดีที่จะจัดการเก็บดอกบัวไว้ให้พวกรามัญ
ก็ได้ไปกราบนมัสการหลวงพ่อโต พร้อมทั้งขอน้ำมนต์ของหลวงพ่อไปเพื่อเป็นสิริมงคล แล้วลากลับถิ่นเดิมเพื่อนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด
ต่อไป ครั้นในปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยต่างก็ช่วยกันเก็บดอกบัวมารวบรวมไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ใน ตามคำของร้องของพวก
รามัญ พวกรามัญก็พากันมารับดอกบัวไปเป็นประจำทุกปี การมาของพวกรามัญที่มารับดอกบัวไปนั้น ต่างพากันมาโดยทางเรือขนาดใหญ่หลายสิบลำ
แต่ละลำจุคนได้ 50-60 คน พวกรามัญจะมาถึงวัดบางพลีใหญ่ในเพื่อรับดอกบัวตอนตี 3-4 ทุกครั้ง และทุกครั้งที่มาถึงวัดต่างก็ตีฆ้องกลองร้องรำทำเพลง
และแสดงการละเล่นอะไรต่ออะไรต่าง ๆ อย่างสนุกสนานครึกครื้นไปด้วย ด้วยไมตรีจิตและมิตรภาพอันดียิ่ง และคนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่าง ๆ
เลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกัน เมื่ออิ่มหนำสำราญกันดีแล้วพวกรามัญก็นำดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโตในวิหาร และนำน้ำมนต์ของ
หลวงพ่อโตกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือนของตน ส่วนดอกบัวที่เหลืออยู่พวกรามัญต่างก็นำกลับไปบูชา พระคาถาพันของพวกเขาตามวัดของตน
ต่อไป ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของ “ประเพณีรับบัว” สืบต่อกันมาจนถึงบัดนี้ ส่วนการแห่หลวงพ่อโตนั้น แต่เดิมยังมิได้มีการแห่ดังเช่นในสมัยนี้ ใน
ราวปี พ.ศ. 2467 นางจั่นกับพวกพ้องได้พร้อมใจกันสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้นในวัดนี้ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้จัดให้มีการฉลอง โดยแห่ผ้าห่มองค์พระปฐม
เจดีย์นี้ไปตามลำคลอง แล้วกลับมาห่มองค์พระปฐมเจดีย์ กลางคืนก็จัดให้มี มหรสพสมโภช แห่ไปได้ 2-3 ปี ก็หยุดไป
ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ต่อมาก็ได้มีการแห่รูปหลวงพ่อโตขึ้นแทนโดยความเห็นชอบของท่านสมภารกุ่ยและประชาชนในถิ่นนั้น
อันมีนายฉาย งามขำเป็นหัวหน้าฝ่ายประชาชน แห่ด้วยรูปภาพของหลวงพ่อโตมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ.2485 ก็ได้มีการทำรูปหุ่นจำลองขององค์หลวงพ่อ
โตสานด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาสีทอง แล้วนำมาแห่แทนรูปภาพของหลวงพ่อโต ตกกลางคืนก็มีมหรสพฉลองกันอย่างครึกครื้นมากมายหลายอย่าง
จนต่อมาถึงสมัยของพระครูพิศาลสมณวัตต์ เป็นเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ใน มีพระครูวุฒิธรรมสุนทรปเป็นรองเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ. 2497 ก็ได้จัดให้ทำ
การหล่อรูปจำลองหลวงพ่อโต หรืองานประเพณีรับบัว ก็สนุกสนานครึกครื้น วิวิฒนาการกันเรื่อยมา โดยมีการเล่นต่าง ๆ มากขึ้น เช่น แข่งเรือ ประกวด
เรือประเภทต่าง ๆ แข่งขันกีฬาต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดให้มีมหรสพสมโภชมากมายหลายอย่างเอิกเกริก ครึกครื้นสนุกสนาน ด้วยความร่วมมือของประชาชน
ชาวอำเภอบางพลี และมีประชาชนจากต่างจังหวัดทั้งใกล้และไกล มานมัสการหลวงพ่อโตและเที่ยวงานประเพณีรับบัวอย่างสนุกสนาน งานนี้มีด้วยกัน
4 วัน คือ เริ่มตั้งแต่เดือน 11 ขึ้น 11 ค่ำ ถึง 14 ค่ำ ของทุกปี และงานประเพณีรับบัวนี้ จะยั่งยืนตลอดไปชั่วกาลนาน.
- แนบไฟล์
-
- lotus.jpg (31.97 KiB) เปิดดู 2216 ครั้ง